คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ไวรัสคอมพิวเตอร์

ไวรัสคอมพิวเตอร์ หรือเรียกสั้น ๆ ในวงการว่า ไวรัส คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่บุกรุกเข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ใช้ ส่วนมากมักจะมีประสงค์ร้ายและสร้างความเสียหายให้กับระบบของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น ๆ
ในเชิงเทคโนโลยีความมั่นคงของระบบคอมพิวเตอร์นั้น ไวรัสเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำสำเนาของตัวเอง เพื่อแพร่ออกไปโดยการสอดแทรกตัวสำเนาไปในรหัสคอมพิวเตอร์ส่วนที่สามารถปฏิบัติการได้หรือข้อมูลเอกสาร ดังนั้นไวรัสคอมพิวเตอร์จึงมีพฤติกรรมในลักษณะเดียวกับไวรัสในทางชีววิทยา ซึ่งสามารถแพร่กระจายไปในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตในลักษณะเดียวกันนี้ คำอื่น ๆ ที่ใช้กับไวรัสในทางชีววิทยายังขยายขอบข่ายของความหมายครอบคลุมถึงไวรัสในทางคอมพิวเตอร์ เช่น การติดไวรัส (infection) แฟ้มข้อมูลที่ติดไวรัสนี้จะเรียกว่า โฮสต์ (host) ไวรัสนั้นเป็นประเภทหนึ่งของโปรแกรมประเภทมัลแวร์ (malware) หรือโปรแกรมที่มีประสงค์ร้าย ในความหมายที่ใช้กันทั่วไปนั้น ไวรัสยังใช้หมายรวมถึง เวิร์ม (worm) ซึ่งก็เป็นโปรแกรมอีกรูปแบบหนึ่งของมัลแวร์ ซึ่งบางครั้งก็ทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์นั้นสับสนเมื่อคำไวรัสนั้นใช้ในความหมายที่เฉพาะเจาะจง คอมพิวเตอร์ไวรัสนั้นโดยทั่วไปจะไม่ส่งผลก่อให้เกิดความเสียหายต่อฮาร์ดแวร์โดยตรง แต่จะทำความเสียหายต่อซอฟต์แวร์
ในขณะที่ไวรัสโดยทั่วไปนั้นก่อให้เกิดความเสียหาย (เช่น ทำลายข้อมูล) แต่ก็มีหลายชนิดที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย เพียงแต่ก่อให้เกิดความรำคาญเท่านั้น ไวรัสบางชนิดนั้นจะมีการตั้งเวลาให้ทำงานเฉพาะตามเงื่อนไข เช่น เมื่อถึงวันที่ที่กำหนด หรือเมื่อทำการขยายตัวได้ถึงระดับหนึ่ง ซึ่งไวรัสเหล่านี้จะเรียกว่า บอมบ์ (bomb) หรือระเบิด ระเบิดเวลาจะทำงานเมื่อถึงวันที่ที่กำหนด ส่วนระเบิดเงื่อนไขนั้นจะทำงานเมื่อผู้ใช้คอมพิวเตอร์มีการกระทำเฉพาะซึ่งเป็นตัวจุดชนวน ไม่ว่าจะเป็นไวรัสชนิดที่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือไม่ก็ตาม ก็จะมีผลเสียที่เกิดจากการแพร่ขยายตัวของไวรัสอย่างไร้การควบคุม ซึ่งจะเป็นการบริโภคทรัพยากรคอมพิวเตอร์อย่างไร้ประโยชน์ หรืออาจจะบริโภคไปเป็นจำนวนมาก
 ประเภทของไวรัสคอมพิวเตอร์

บูตไวรัส

บูตไวรัส (boot vius) คือไวรัสคอมพิวเตอร์ที่แพร่เข้าสู่เป้าหมายในระหว่างเริ่มทำการบูตเครื่อง ส่วนมาก มันจะติดต่อเข้าสู่แผ่นฟลอปปี้ดิสก์ระหว่างกำลังสั่งปิดเครื่อง เมื่อนำแผ่นที่ติดไวรัสนี้ไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ไวรัสก็จะเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ตอนเริ่มทำงานทันที
บูตไวรัสจะติดต่อเข้าไปอยู่ส่วนหัวสุดของฮาร์ดดิกส์ ที่มาสเตอร์บูตเรคคอร์ด (master boot record) และมันจะโหลดตัวเองเข้าไปสู่หน่วยความจำก่อนที่ระบบปฏิบัติการจะเริ่มทำงาน ทำให้เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น


ไฟล์ไวรัส (file virus) ใช้เรียกไวรัสที่ติดไฟล์โปรแกรม

 

มาโครไวรัส

มาโครไวรัส (macro virus) คือไวรัสที่ติดไฟล์เอกสารชนิดต่าง ๆ ซึ่งมีความสามารถในการใส่คำสั่งมาโครสำหรับทำงานอัตโนมัติในไฟล์เอกสารด้วย ตัวอย่างเอกสารที่สามารถติดไวรัสได้เช่น ไฟล์ไมโครซอฟท์เวิร์ด ไมโครซอฟท์เอ็กเซล เป็นต้น

ชนิดของไวรัส

ไวรัส (virus) อันนี้คงทราบกันดีอยู่แล้ว ซึ่งไวรัสคอมพิวเตอร์ เป็นโค้ดโปรแกรมที่เกิดจากน้ำมือของ โปรแกรมเมอร์ ที่สามารถแพร่กระจายไปจากเครื่องหนึ่งสู่อีกเครื่องหนึ่ง โดยอาศัยการกระจายแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น แผ่นซีดี แผ่นดิสส์เกต อินเตอร์เน็ต ระบบเครือข่าย รวมทั้งในปัจจุบันเริ่มก้าวเข้าสู่การกระจายด้วยมือถืออีกด้วย
Worm หรือ หนอน เป็นรูปแบบหนึ่งของไวรัส มีความสามารถในการทำลายระบบในเครื่องคอมพิวเตอร์สูงที่สุดในบรรดาไวรัสทั้งหมด สามารถกระจายตัวได้รวดเร็ว ผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งสาเหตุที่เรียกว่าหนอนนั้น คงจะเป็นลักษณะของการกระจายและทำลาย ที่คล้ายกันหนอนกินผลไม้ ที่สามารถกระจายดัวได้มากมาย รวดเร็ว และเมื่อยิ่งเพิ่มจำนวนมากขึ้น ระดับการทำลายล้างยิ่งสูงขึ้น
ม้าโทรจัน หรือ Trojan คือโปรแกรมจำพวกหนึ่งที่ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อแอบแฝง กระทำการบางอย่าง ในเครื่องของเรา จากผู้ที่ไม่หวังดี สำหรับท่านที่ดูหนังเรื่องทรอยมาแล้ว ก็คงจะพอนึกออกชื่อเรียกของโปรแกรมจำพวกนี้ ก็มาจากตำนานของม้าไม้แห่งเมืองทรอยนั่นเอง ซึ่งการติดนั้น ไม่เหมือนกับไวรัส และหนอน ที่จะกระจายตัวได้ด้วยตัวมันเอง แต่โทรจันจะถูกแนบมากับ อีการ์ด อีเมล์หรือโปรแกรมที่มีให้โหลดตามอินเตอร์เน็ตในเว็บไซต์ใต้ดินทั้งหลาย และสุดท้ายที่มันต่างกับไวรัสและเวิร์ม คือ คุณเป็นผู้ที่อ้าแขนรับ มันเข้ามาในเครื่องเอง โดยคิดไม่ถึง หรือไม่คาดคิด นั่นเอง
Hoax หรือ ไวรัสข่าวหลอกลวง ซึ่งหลายคนอาจจะเคยเจอ หรือได้รับจดหมายลูกโซ่ อย่างเช่นให้ส่งอีเมล์นี้ไปให้คนอีก 100 คนเพื่อคุณจะสมหวัง หรือ อีเมล์ข่าวที่ว่า มีไวรัสร้ายแรงระบาดหนัก ให้คุณทำการลบไฟล์ ชื่อนั้น ชื่อนี้ และแก้ตรงนั้นตรงนี้ แล้วรีสตาร์ทเครื่อง จะทำให้คุณไม่โดนไวรัส แต่เมื่อคุณทำไปแล้ว ก็จะไม่โดนไวรัสจริง เพราะคอมคุณไม่สามารถจะเปิดติดได้อีก นั่นเอง ซึ่งปัจจุบันยังมีให้เห็นอยู่
Adware มาจากคำว่า Advertising Supported Software ซึ่งหากแปลกันตรงๆก็คือ โปรแกรมที่สนับสนุนการโฆษณานั่นเอง ซึ่งจะพบได้เวลาที่คุณเล่นอินเทอร์เน็ต แล้วเจอให้ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรีแวร์ต่างๆ ซึ่งพวกนี้จะมีการแอบแฝงโฆษณามากับโปรแกรมเหล่านั้น ผลที่จะเกิดตามมาคือ บางครั้งจะมี หน้าต่างโฆษณาขึ้นมาให้คุณดู ทั้งๆที่ คุณไม่ได้คลิกหรือว่า ไม่ได้ทำอะไรเลย ซึ่งอาจจะพบได้ในโปรแกรมต่างๆ อย่างเช่นโปรแกรมบอกสภาพอากาศ โปรแกรมพวกปฏิทินบนเดสทอป เป็นต้น
Spyware เป็นโปรแกรมที่จะทำหน้าที่โจรกรรมข้อมูล ซึ่งจะคอยทำหน้าที่ส่งข้อมูลของคุณไปยังบริษัทผู้ผลิต อย่างเช่นการเข้าอินเทอร์เน็ตของคุณ การเข้าโปรแกรมต่างๆ บางทีจะเป็นทางผ่านให้กับแฮ็คเกอร์อีกด้วย และส่วนใหญ่ข้อมูลที่ถูกโจรกรรมไปจะถูกขายต่อ เป็นรายได้แก่บริษัทอีกต่างหาก

วิวัฒนาการของไวรัส

ในปี พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) ทีมวิศวกรของ Bell Telephone Laboratories ได้สร้างเกมชื่อว่า "Darwin" ถือเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ตัวแรกที่มีรูปแบบของไวรัส โดยฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำ เกมนี้ใช้คำศัพท์บางอย่างที่มีคำว่า "supervisor" มีลักษณะที่กำหนดกฎเกณฑ์การต่อสู้ระหว่างผู้เข้าแข่งขัน โปรแกรม Darwin นี้มีความสามารถที่จะวิจัยสภาพแวดล้อมของมัน ทำสำเนา และทำลายตัวเองได้ จุดประสงค์หลักของเกมนี้ก็คือลบโปรแกรมทั้งหมดที่คู่แข่งเขียนและครอบครองสนามรบ
ต้นปี พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) มีการตรวจพบไวรัส Creeper ในเครือข่าย APRAnet ของทหารอเมริกา ถือเป็นต้นแบบไวรัสคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน โปรแกรม Creeper สามารถเข้าครอบครองเครือข่ายผ่านโมเด็มและส่งสำเนาตัวเองไปที่ฝั่ง remote ไวรัสนี้ทำให้คนรู้ว่าติดไวรัสด้วยการ broadcast ข้อความ "I'M THE CREEPER ... CATCH ME IF YOU CAN"
ปี พ.ศ. 2517 (ค.ศ. 1974) โปรแกรมชื่อ "Rabbit" โผล่ขึ้นมาบนเครื่องเมนเฟรมที่เรื่องชื่อนี้เพราะมันไม่ได้ทำอะไรนอกจากสำเนาตัวเองอย่างรวดเร็วไปในระบบเก็บข้อมูลชนิดต่างๆ Rabbit นี้ได้ดึงทรัพยากรของระบบมาใช้อย่างมาก ทำให้การทำงานกระทบอย่างรุนแรงจนอาจทำให้ระบบทำงานผิดพลาดได้
ปี พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) มีการตรวจพบไวรัสชื่อ "Elk Cloner" นั้นเป็นคอมพิวเตอร์ไวรัสบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลตัวแรก ซึ่งแพร่กระจาย คือในวงที่กว้างออกไปกว่าภายในห้องทดลองที่สร้างโปรแกรม โปรแกรมนี้ถูกเขียนขึ้นโดย Rich Skrenta โดยไวรัสนี้จะติดไปกับระบบปฏิบัติการ Apple DOS 3.3 ผ่านทาง boot sector ของฟล็อปปี้ดิสก์ ณ เวลานั้นผลของมันทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์บางคนนึกว่าไวรัสคอมพิวเตอร์เกิดจากมนุษย์ต่างดาว เพราะทำให้การแสดงภาพที่จอกลับหัว, ทำตัวอักษรกระพริบ, ขึ้นข้อความต่างๆออกมา
ปี พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) Len Adleman แห่งมหาวิทยาลัย Lehigh ตั้งคำว่า "Virus" ว่าเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำสำเนาตัวเองได้ และในปีถัดมาใน Information security conference ครั้งที่ 7 Fred Cohen ได้ให้คำจำกัดความของคำ "computer virus" ว่าเป็นโปรแกรมที่สามารถติดต่อไปยังโปรแกรมอื่นโดยการแก้ไขโปรแกรมเดิมเพื่อแพร่ขยายตัวเอง
เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) Fred Cohen บิดาแห่งไวรัสศาสตร์ (Virology) ได้ใช้คอมพิวเตอร์ VAX 11/750 สาธิตว่าโปรแกรมไวรัสสามารถฝังตัวเข้าไปใน object อื่นได้
ปี พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) ไวรัสตัวคอมพิวเตอร์รุ่นแรกๆ สร้างโดยโปรแกรมเมอร์อายุ 19 ปี ชาวปากีสถาน ชื่อ Basit Farooq และพี่ชายชื่อ Amjad เรียกชื่อ "Brain" ที่มีเป้าไปที่เครื่องคอมพิวเตอร์ IBM Compatible ด้วยเหตุผลที่ว่าต้องการรู้ระดับของซอฟต์แวร์เถื่อนในประเทศตัวเอง แต่โชคไม่ดีที่การทดลองนี้หลุดออกมานอกประเทศ
ปี พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) โปรแกรมเมอร์ชาวเยอรมันชื่อ Ralf Burger พบวิธีตรวจจับโปรแกรมที่ copy ตัวเองโดยการเพิ่ม code บางตัวเข้าไปใน ไฟล์ COM version ที่ใช้ทดลองชื่อ Virdem ถูกนำมาแสดงในเดือนธันวาคม ที่ Hamburg เป็น forum ที่เหล่า hacker ที่ชำนาญในการ crack ระบบ VAX/VMS มารวมตัวกันชื่อ "Chaos Computer Club"
ปี พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) เกิดไวรัสระบาดที่ เวียนนา เป็นไวรัสที่ทำลายคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลตัวแรกที่ทำงานเต็มระบบ ส่งผลกระทบไปเกือบทั่วโลก ที่มาของไวรัสนี้เป็นประเด็นถกเถียงกันมาก เพราะคนที่อ้างว่าเป็นคนเขียนคือ Franz Svoboda แต่เมื่อสืบไปจึงพบว่าเขารับมาจาก Ralf Burger ซึ่งก็อ้างว่ารับมาจาก Svoboda เดิมชื่อไวรัสคือ "lovechild" แต่เพราะไม่สามารถหาคนให้กำเนิดได้จึงถูกเรียกอย่างเป็นทางการว่า "orphan" (ลูกกำพร้า)
ปี พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) เดือนธันวาคม เกิดการระบาดใต้ดินครั้งแรกในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ชื่อ "Christmas Three" วันที่ 9 ไวรัสหลุดมาจาก เครือข่าย Bitnet ของมหาวิทยาลัย Western University ประเทศเยอรมนี ทะลุเขาไปใน European Acadamic Research Network (EARN) และเข้าไป เครือข่าย IBM-Vnet เป็นเวลา 4 วัน เครื่องที่ติดไวรัสจะแสดงผลที่หน้าจอเป็นรูปต้นคริสมาสต์ และส่งไปให้ผู้ใช้อื่นๆในเครือข่าย
ปี พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) Peter Norton programmer ที่มีชื่อเสียง ผู้ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งบริษัท Symantec ได้ออกมาประกาศว่าไวรัสคอมพิวเตอร์เป็นเรื่องไร้สาระ โดยเปรียบว่าเป็นแค่จระเข้ที่อยู่ในท่อระบายน้ำเสียในนิวยอร์ก แต่ในที่สุดเขาเป็นผู้ที่ได้เริ่มต้น project Norton-AntiVirus
ปี พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) วันที่ 22 เดือนเมษายน เกิด forum ที่ถกกันเรื่อง security threat เป็นครั้งแรก ชื่อ Virus-L host ไว้ที่ Usebet สร้างโดย Ken Van Wyk เพื่อร่วมงานของ Fred Cohen ที่มหาวิทยาลัย Lehigh
ปี พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) เดือนตุลาคม มีการแพร่ข่าวไวรัสชื่อ Mr. "Rochenle" อย่างมากเป็นไวรัสประเภทหลอกลวง (HOAX) เป็นตัวแรก อ้างถึงชื่อบุคคลที่ไม่มีตัวตนชื่อ Mike RoChenle ("Microchannel") อ้างว่าไวรัสนี้สามารถส่งตัวเองไประหว่างโมเด็มด้วยความเร็ว 2400 bps ทำให้ความเร็วโมเด็มลดลงเหลือ 1200 bps และได้อธิบายวิธีการแก้ไขที่ไม่ได้มีผลอะไร แต่มีคนหลงเชื่อทำตามกันอย่างมากมาย
ปี พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) เดือนพฤศจิกายน มีหนอนเครือข่ายชื่อ "Morris" ระบาดอย่างหนักทำให้คอมพิวเตอร์กว่า 6000 เครื่องในอเมริการวมทั้งใน ศูนย์วิจัยของ NASA ติดไปด้วย ส่งผลกระทบให้การปฎิบัติงานหยุดโดยสิ้นเชิง เหตุเนื่องจากมี error ใน code ของ Morris ทำให้มัน copy ตัวเองไปที่เครือข่ายอื่นอย่างไม่จำกัดทำให้เครือข่ายรับไม่ไหว การระบาดครั้งทำทำให้สูญเสียเป็นมูลค่ากว่า 96 ล้านเหรียญสหรัฐ


Buffer Memory ในอุปกรณ์ CDRW Drive

ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ Buffer Memory ในอุปกรณ์ CDRW Drive 
Buffer Memory ที่มีอยู่ใน CDRW Drive จะทำหน้าที่เป็นที่พักข้อมูลให้กับ CDRW Drive ก่อนนำไปบันทึกลงแผ่น CD โดยการยิงแสงเลเซอร์ให้เซาะร่องเล็กๆ บนแนววงแหวนสำหรับแผ่น CD-R หรือใช้วิธีเปลี่ยนคุณสมบัติของสารเคมีให้เป็นจุดแทนค่าทางไฟฟ้าสำหรับแผ่น CDRW

ขนาดของ Buffer Memory2MBหรือ 8MB มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของ CDRW Drive แค่ไหน? 
เมื่อมีการสั่งให้ CDRW Drive อ่าน/เขียนข้อมูล CPU จะทำหน้าที่ตรวจหาตำแหน่งของข้อมูลจากนั้นจึงจะส่งข้อมูลไปเก็บไว้ที่ Buffer Memory ภายใน CDRW Drive โดยผ่านโหมดการรับส่งข้อมูลแบบ IDE/ATA ซึ่งนิยมเลือกใช้กันอยู่ 2 แบบในปัจจุบันคือ PIO Mode 4 และ Ultra DMA Mode 2 สำหรับการเลือกใช้โหมดการรับส่งข้อมูลดังกล่าวจะทำให้วิธีการทำงานของ CDRW Drive แตกต่างกัน เช่น PIO Mode 4 ที่มีการรับส่งข้อมูลเพียง 16.6 MB/s หากเลือก Buffer Memory ที่มีขนาดใหญ่คือ 8 MB.จะช่วยให้ปริมาณของข้อมูลเพียงพอและสัมพันธ์กับความเร็วในการเขียน เพราะหากข้อมูลใน Buffer Memory มีปริมาณที่ไม่เพียงพอต่อการเขียนจะทำให้ส่วนควบคุมหยุดการเขียนทันทีและไม่สามารถทำงานต่อไปได้ ซึ่งจะตรงกันข้ามกับ Ultra DMA Mode 2 ที่สามารถรับส่งข้อมูลได้ถึง 33.3 MB/s ทำให้มีความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงและสัมพันธ์กับความเร็วในการเขียนจึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้ Buffer Memory ที่มีขนาดใหญ่ก็เพียงพอต่อการทำงานแล้วโดยมักจะเลือกขนาดของ Buffer Memory ที่ 2 MB. นอกจากนี้ CDRW Drive ที่มีใช้กันอยู่ในปัจจุบันยังสนับสนุนเทคโนโลยีเกี่ยวกับการควบคุมและจัดการกับข้อมูลใน Buffer Memory เรียกว่า Burn-Proof (Buffer Under Run Proof )หรือ SMART-BURN ใน LITE-ON โดยทำหน้าที่ตรวจสอบปริมาณของข้อมูลในการรับส่งระหว่างอุปกรณ์เป็นหลัก และหากเกิดปัญหาในการรับส่งข้อมูลไม่ทันก็จะทำการสั่งให้ส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมการเขียนแผ่น CD หยุดการเขียนทันทีเพื่อรอจนกว่าจะมีการส่งข้อมูลมาที่ Buffer Memory ในปริมาณที่เพียงพอและสัมพันธ์กับความเร็วในการเขียนข้อมูล จึงจะเริ่มทำการเขียนที่จุดสุดท้ายต่อจากข้อมูลเดิม ทำให้ข้อมูลมีความต่อเนื่องและสามารถใช้งานได้ ทำให้ Buffer Memory 2 MB.หรือ 8 MB. ไม่มีความแตกต่างจากการใช้งานและประสิทธิภาพ 


คลิกที่รูปเพื่อดูข้อมูลที่ชัดเจน
คลิกที่รูปเพื่อดูข้อมูลที่ชัดเจน

Recording Technology ใน CD-ROM

Recording Technology ใน CD-ROM
คุณเคยสงสัยไหมครับว่าค่า X ของ CD-ROM มันหมายความว่าอะไร ค่า X เป็นค่าแสดงถึงจำนวนการโอนถ่ายข้อมูลของ CD-ROM drives ซึ่งจะเทียบกับอัตราการโอนย้ายข้อมูลของ CD-ROM ในยุคต้น ๆ ที่มีความเร็วอยู่ที่ 150 KB/s หรือ 1XCD-ROM drives (ความเร็วต่ำกว่า 12X) ถูกออกแบบให้ทำงานบนพื้นฐานของ constant linear velocity (CLV) อัตราความเร็วในการอ่านคงที่ (ระยะในการเคลื่อนหัวอ่านคงที่) นั้นหมายความว่า ความเร็วรอบของแผ่นนั้นจะเพิ่มขึ้นไปเลื่อยๆเนื่องจากเมื่อหัวเลื่อนจากในสุดสู่นอกสุดนั้นมีระยะทางของรอบที่เพิ่มขึ้น อีกนัยหนึ่งก็คือ ความเร็วเชิงมุมนั้นจะถูกเปลี่ยนแปลงตามการอ่านของหัวอ่านเพื่อตามการฉายแสงเลเซอร์ไปตามพื้นผิวของแผ่น CD ทำให้ Motor ที่หมุนจะต้องทำงานโดยเปลี่ยนความเร็วรอบของตัวเองตลอดเวลา ขณะที่หัวอ่านอยู่ใกล้ขอบในของ CD Motor จะหมุนช้าแต่ เมื่อหัวอ่านนั้นอยู่ใกล้ขอบนอกมากเท่าไร Motor ก็ยิ่งหมุนเร็วขึ้น
แต่ถ้าเป็น CD drives ที่ทำงานแบบ constant angular velocity (CAV) ซึ่งทำงานเหมือนกับ HDD คือ ความเร็วในการโอนย้ายข้อมูลจะใช้เวลาต่างกันซึ่งจะเพิ่มขึ้นไปเลื่อยๆจนถึงความสามารถสูงสุดที่ Drive นั้นทำได้ โดยจะมีค่าเฉลี่ยในการโอนย้ายข้อมูลน้อยกว่าค่า X ที่ระบุไว้ ซึ่งจำเป็นต้องใช้ Buffer ที่มีความจุมาก แต่ยิ่งมี Buffer มาก

Drive speed ratingPrincipleMinimum rate (MB/s)Maximum rate (MB/s)Average rate (MB/s)
10 XCLV1.501.501.50
12 XCLV1.801.801.80
12 Xto 32 XCAV1.804.803.30
12 X to 48 XCAV1.807.204.50
การใช้วิธี CLV ในการเขียนแผ่น CD นั้นเวลาที่เริ่มทำงานกับเวลาสิ้นสุดการทำงานจะมีความเร็วเดียวกันตลอดไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ทำให้ Motor ของเครื่อง CD ทำงานหนักเพราะเมื่อเริ่มต้นการทำงาน Motor จะหมุนด้วยความเร็วสูงเพื่อให้ทำงานสัมพันธ์กับจำนวนรอบของเครื่อง CD ซึ่งอาจจะทำให้เกิดเสียงดังและ ความเสถียรในการเขียนแผ่นลดลง เพื่อที่จะให้เกิดความเสถียรและลดผลกระทบข้างเคียงอื่นๆ จึงมีวิธีการใหม่อีก 2 แบบ ซึ่งชนิดแรกเป็น P-CAV ส่วนแบบที่2 คือ Z-CLV
P-CAV (Partial Constant Linear Velocity) เป็น Technology ของ Yamaha เป็นการรวมการทำงานระหว่าง CLV และ CAV อัตราการโอนย้ายข้อมูลจะเพิ่มขึ้นจนเท่ากับความสามารถที่ Drive จะทำได้ (CAV) พอถึงจุดนั้นแล้ว Drive จะช้าลงและคงที่ (CLV) P-CAV drive ทำงานไปถึงที่ความเร็วสูงสุดแล้วและจะคงความเร็วนั้นตลอดทำให้ค่าเฉลี่ยในการโอนย้ายข้อมูลสูงขึ้น เป็นแนวคิดสำหรับ Audio CD
Z-CLV (Zoned Constant Linear Velocity) มีการทำงานแบบเป็นลำดับ โดย ความเร็วอยู่ในระดับคงที่เพียงชั่วขณะ และจะเพิ่มขึ้นตามลำดับ จนถึงระดับสูงสุดที่ Drive จะทำงานได้ เป็นวิธีการที่นิยมใช้กับ Drive ที่เป็น High Speed ในปัจจุบัน


ภาพเปรียบเทียบการทำงานวิธีการแบบ P-CAV และ Z-CLV
อะไรคือความแตกต่างระหว่างดิสก์ CAV และ CLV?
ดิสก์ CAV (Constant Angular Velocity) เป็นมาตรฐานของการเล่นแผ่นดิสก์ที่เล่นภาพและเสียงได้นาน 60 นาที โดยการเล่นทั้งสองด้านของแผ่น LD ขนาด 30 ซม. สามารถทำการเล่นภาพนิ่ง, เล่นภาพช้า, เล่นภาพทีละเฟรม และทำการค้นหาเฟรมภาพได้ แผ่นดิกส์ CAV ตามปกติจะมีฉลากติดว่าเป็น Standard disc


ดิสก์ CLV (Constant Linear Velocity) สามารถเล่นได้นานเป็นสองเท่าของเวลาในการเล่นด้วยแผ่นดิสก์มาตรฐาน หรืออีกนัยหนึ่งสามารถเล่นได้นาน 60 นาทีในแต่ละด้านของดิสก์แต่จะไม่สามารถใช้ฟังก์ชั่นการเล่นภาพแบบต่างๆ ได้อย่างแผ่นดิสก์

EEE 802.1d

ถ้ากล่าวถึงมาตรฐาน IEEE 802.1d บางคนอาจจะรู้จักดีเพราะเป็นมาตรฐานที่ว่าด้วยข้อตกลงในการสื่อสารที่มีความสามารถในการทำงานเกี่ยวกับ Spanning Tree โดยมีการบรรจุฟังก์ชันนี้ไว้ใน Switching Hub ที่สนับสนุนการทำงานของ IEEE 802.1d แต่น่าเสียดายที่ฟังก์ชันนี้ไม่ถูกใช้งานเป็นที่แพร่หลาย เนื่องจากยังมีผู้ใช้งานอีกจำนวนมากที่อาจยังไม่เข้าใจการทำงานเกี่ยวกับ Spanning Tree หรือ IEEE 802.1d
หลายคนมีคำถามว่าจะศึกษาหรือทำความเข้าใจในเรื่องของ Spanning Tree อย่างไร ทีมงานจุดประกายความคิด จึงได้เรียบเรียงเนื้อหาและการใช้งานของ Spanning Tree ด้วยเนื้อหาที่เข้าใจง่าย และสามารถนำไปใช้งานจริงได้
จากภาพข้างล่างเราได้ลองเชื่อมต่อ Switching Hub จำนวน 2 ตัวโดยใช้สาย UTP ( cat 5 ) 2 เส้น ในรูปที่ 1 เราจะพบว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อภายในระบบเครือข่ายนี้จะไม่สามารถใช้งานได้ เนื่องจากมี Broadcast ที่เกิดขึ้นจำนวนมากภายในระบบ เหตุการณ์นี้ถ้า switching hub มีการสนับสนุนการทำงานของ Spanning tree จากรูปที่ 2 ระบบเครือข่ายของเราจะสามารถทำงานได้เป็นปกติ




หลักการทำงานของ Spanning Tree
1. Switching hub จะมีการตรวจสอบว่าเกิด Loop ขึ้นภายในระบบหรือไม่ ด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้
  1. Blocking ไม่ Forward frame แต่จะฟัง ( Listen ) กับ Bridge Protocol Data Units ( BPDUs)
  2. Listening ตรวจสอบการทำงาน Listen กับ BPDUs จะไม่ให้เกิด Loop ก่อนที่จะส่ง Data frame
    เข้าไประบบ Networks
  3. Learning ตรวจสอบ MAC Address ที่ต่อเข้าระบบ Networks แต่จะไม่จะส่ง Data frameเข้าไประบบ
    Networks
  4. Forwarding ส่ง และ รับ Data frame ทุก Port ของ Switching
2. ขั้นตอนในการตรวจสอบว่า Switching hub ตัวไหนเป็น Root Bridge จากภาพข้างล่าง
  1. Mac Address Switching hub ค่าที่น้อยจะได้เป็น Root Bridge เสมอโดย Priority จะ ต้องเท่ากันจากรูปค่า Priority = 32768
  2. กรณีที่ต้องการให้ Switching hub ทีมีค่า Mac Address มากกว่าโดยให้เป็น Root bridge ทำได้โดยกำหนด Priority ให้มีค่าน้อยกว่าเช่น ถ้าต้องการให้ Switching hub ตัวที่ 2 เป็น Root bridge กำหนด Priority ให้มีค่า 32767 Switching hub ตัวที่ 2 จะมีค่าเป็น Root bridge
สรุปได้ว่า
1. Switching hub ที่จะเป็น root bridge จะให้ความสำคัญของ Priority ที่มีค่าน้อยเป็น Root bridge ก่อน
2. ถ้า Priority เท่ากันจะให้ความสำคัญค่า Mac Address มีค่าน้อยเป็น Root bridge ก่อน

ประโยชน์ของ Spanning Tree เป็นการสำรองเส้นทางกรณีที่สาย Cable ขาด Port สถานะที่ B ( Blocking )
เปลี่ยนเป็น Forwarding ทำให้ระบบ Networks ยังทำงานได้อยู่หรือถ้าอุปกรณ์ Switching hub มีปัญหา Switching hub อีกตัวจะสามารถทำงานได้ตามตัวอย่างท้ายบท
หมายเหตุ
  1. Switching hub แต่ละ Port จะมีการการเปลี่ยนแปลงค่า B = Blocking , Li = Listening , Le = Learning
    F= Forwarding
  2. ค่า Priority สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ส่วน Mac Address ไม่สามารถเปลี่ยนแปลง จากภาพ
ตัวอย่างท้ายบทนี้อยากให้ผู้อ่านช่วยกำหนดค่า Mac address และ Priority โดยหาการไหลของข้อมูลโดยระบบ
Networks จะต้องงานได้ไม่ว่า
1. สาย UTP Switching hub ขาด
2. Switching hub ตัวไหนเสีย โดยคิดว่าเป็นรูปที่ 1 หรือ 2

IEEE 802.1Q

มาตรฐาน IEEE 802.1Q 
บางคนอาจจะรู้จักดีเพราะเป็นมาตรฐานที่ว่าด้วยข้อตกลงในการสื่อสารที่มีความสามารถในการทำงานเกี่ยวกับ Virtual LAN ( VLAN ) โดยมีการบรรจุฟังก์ชันนี้ไว้ใน Switching Hub ที่สนับสนุนการทำงานของ IEEE 802.1Q แต่น่าเสียดายที่ฟังก์ชันนี้ไม่ถูกใช้งานเป็นที่แพร่หลาย เนื่องจากยังมีผู้ใช้งานอีกจำนวนมากที่อาจยังไม่เข้าใจการทำงานเกี่ยวกับ Virtual LAN หรือ IEEE 802.1Q
Virtual LAN คืออะไรและมีประโยชน์อย่างไรกับระบบ LAN ถ้าพูด Collision domain คือการชนกันของสัญญาณEthernet โดยเราสามารถป้องกันได้โดยใช้อุปกรณ์ Switch Hub แทน Hub เพราะ Switch Hubมีความสามารถจัดการไม่ให้สัญญาณชนกันโดย 1 Port Switch Hub เรียกว่า 1 Collision domain โดยระบบ LANมีหลาย ๆ Collision Domain จะทำให้ประสิทธิภาพของระบบ Network ดี แต่การป้องกัน Collision domain อย่างเดียวไม่เพียรพอกับ ระบบ Network ที่มีเครื่อง client เป็นจำนวนมากโดยจะต้องควบคุม BoardCast Domain ไม่ให้มีขนาดใหญ่ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือการแบ่ง Boardcast domain ให้มีหลาย ๆ Boardcast domain เพื่อลดจราจรของระบบ Network จากรูปภาพ 1 คือลักษณะการทำงานของ Boardcast domain เมื่อ PC เครื่อง 1 ต้องการติดต่อกับ PC เครื่อง 2 คำร้องขอของ PC 1 จะกระจายไปทั่วระบบ Network ทำให้ PC# 3 , PC# 4 รับทราบข้อมูล ทำให้ระบบ Network มีประสิทธิภาพ ลดลง

ประโยชน์ของ Virtual LAN คือ
1. ช่วยลด Boardcast domain
2. ช่วยรักษาความปลอดภัย
3. สามารถวิเคราะห์ปัญหาของระบบ Network กรณีที่มีปัญหาได้รวดเร็ว
จากรูปภาพที่ 2 เมื่อกำหนด VLAN , 3 VLAN ที่ Switch hub รุ่น SMC6750L2
VLAN 1 ให้กับผู้ใช้ในฝ่าย Sale
VLAN 2 ให้กับผู้ใช้ในฝ่าย Account
VLAN 3 ให้กับผู้ใช้ในฝ่าย Service

ประโยชน์ที่ได้จากกำหนด VLAN จากรูปที่ 2 คือ
  1. Boardcast domain มี 3 Boardcast domain ลดการจราจรให้น้อยลง
  2. สมาชิกแต่ละ VLAN ไม่เห็นกัน เช่น VLAN 1 ไม่เห็น VLAN 2 , VLAN 3
  3. กรณีที่ระบบ LAN ช้าผิดปกติเราสามารถวิเคราะห์จากกลุ่มผู้ใช้ของเครื่องคอมพิวเตอร์ว่ากลุ่มไหนผิดปกติหรือกลุ่มไหนปกติเช่น กลุ่ม Sale ผิดปกติ แต่กลุ่ม Service ใช้งานปกติ แสดงว่ากลุ่ม Sale อาจจะมีปัญหาเรื่อง Boardcase domain 
สรุปได้ว่าสิ่งที่กล่าวข้างต้นคือหลักการของการทำงานเกี่ยวกับ VLAN ที่เป็นแบบ Port Base โดยกำหนดที่ Port ของ Switching Hub เช่น Port ที่ 1 – Port ที่ 5 เป็น VLAN 1, Port ที่ 10 – Port ที่ 15 เป็น VLAN 2 และ Port ที่ 20 –Port ที่ 24 เป็น VLAN 3
ตามมาตรฐานมีการแบ่ง VLAN ไว้ 2 แบบคือ
  1. Port Base
  2. Policy Base
         - IP Subnet
         - Protocol type
         - Mac Address
จากบทความข้างต้นจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่ดูแลระบบ Networks ที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายอยูในระดับ 100 ถึง 1000 เครื่องโดยโอกาสหน้าเราจะมาเรียนรู้การ Configuration ของ VLAN และการเชื่อมต่อที่สับซ้อนมาขึ้น

Peer-to-Peer

ในปัจจุบันเทคโนโลยีระบบเครือข่ายแบบ Peer-to-Peer ได้รับความสนใจ และเข้ามามีบทบาทในการใช้ Internet มากขึ้น เทคโนโลยีนี้ช่วยทำให้ผู้ใช้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล บริการ และ ทรัพยากรอื่นๆในเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่อยู่บนเครือข่ายได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ดังเช่น Napster, Gnutella, และ Freenet ซึ่งเป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ยอมให้ผู้ใช้ Internet ค้นหา และแลกเปลี่ยนไฟล์ข้อมูลต่างๆระหว่างคอมพิวเตอร์ซึ่งกันและกันได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Central Server) ซึ่งต่างจากระบบ Client-Server ซึ่งต้องมีคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) คอยให้บริการตามคำขอของเครื่องลูกข่าย (Client) ในการขอข้อมูล บริการ และไฟล์ข้อมูล ดังตัวอย่างที่พบเห็นโดยทั่วไปคือ World Wide Web ( WWW) ทั่วไปที่มีอยู่โดยผู้ใช้ Internet ซึ่งเปรียบได้เสมือนเครื่องลูกข่าย (Client) จะใช้เว็บบราวเซอร์ในการแสดงผลข้อมูลที่มาจากเครื่องแม่ข่าย (Web Server) โดยใช้ โปรโตคอล HTTP เป็นมาตรฐานในการสื่อสารและมีรูปแบบการแสดงผลเป็นแบบ HTML ซึ่งหากจะเปรียบไปแล้วเทคโนโลยีระบบเครือข่ายแบบ Peer-to-Peer จะมีการทำงานในลักษณะที่เป็น Decentralization ส่วนระบบ Client-Server มีการทำงานเป็นแบบ Centralization นั้นเอง P2P สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 แบบ คือ Pure P2P, Hybrid P2P, และ Super Peer
Pure Peer-to-peer
โมเดลแบบ Pure P2P จะมีลักษณะที่ตรงข้ามกับโมเดลแบบศูนย์กลางตรงที่ทุกๆเพียรสามารถติดต่อและแลก เปลี่ยนข้อมูลกันได้โดยตรงโดยไม่ต้องผ่านเครื่องเซิร์ฟเวอร์กลาง จุดเด่นของโมเดลแบบนี้คือความสามารถในการขยายขนาดเครือข่าย, ความคงทน(fault tolerant) โดยถ้ามีเพียร์เสียหรือออกไปจากระบบก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อระบบโดยรวม แต่โมเดลแบบนี้ก็มีข้อจำกัดตรงที่ควบคุมการไหลของข้อมูลได้ยากทำให้มีปัญหาเรื่องการใช้แบนด์วิธสิ้นเปลือง และโมเดลแบบนี้จะมีความปลอดภัยที่ต่ำ เนื่องจากแต่ละเพียร์สามารถเข้าสู่ครือข่ายได้โดยไม่ต้องมีการทำ Authentication (โมเดลแบบนี้ทำ Authentication ได้ยาก) และสามารถที่จะส่งข้อมูลที่อันตรายเข้าสู่เครือข่ายได้โดยง่าย เนื่องจากข้อเสียที่มากของโมเดลแบบนี้ทำให้โมเดลนี้ไม่เป็นที่นิยมเท่าที่ควร
Pure Peer-to-Peer Model.
Hybrid Peer-to-Peer
โมเดลแบบ Hybrid P2P นี้จะมีเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ที่ทำหน้าที่ควบคุมรายละเอียดของข้อมูลที่อยู่ภายในเครือข่ายแต่การส่งข้อมูลจะเป็นแบบเดียวกับโมเดล Pure P2P (ส่งถึงกันโดยตรง) โมเดลแบบนี้จะช่วยลดปัญหาเรื่องการจัดการข้อมูลทีทำได้ยากในโมเดลแบบ Pure P2P โดยเครื่องเซิร์ฟเวอร์ จะทำหน้าที่คอยตรวจสอบสถานะของทุกๆเพียร์ และควบคุมการไหลของข้อมูลในเครือข่ายแต่เพราะยังต้องใช้เครื่องเซิร์ฟเวอร์กลางอยู่ดังนั้นถ้าเครื่องเซิร์ฟเวอร์ กลางเสียไปก็จะเสียการควบคุมข้อมูลไปแต่ละเพียร์ ก็จะยังคงสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้อยู่ เนื่องจากมีการควบคุมข้อมูลที่ดีดังนั้นโมเดล นี้จึงมีความสามารถในการขยายขนาดเครือข่ายได้ดีกว่าโมเดล Pure P2P แต่ก็ยังมีขีดจำกัดของการขยายอยู่ที่จำนวนเครื่องลูกของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ที่จะรับได้ โมเดลแบบนี้มี ประสิทธิ ภาพที่จะนำไปใช้ กับแอปพลิเคชั่นต่างๆ แต่ไม่สามารถนำไปใช้กับแอปพลิเคชั่นที่มีขนาดของปัญหาใหญ่ๆได้
Hybrid Peer-to-Peer Model
Super-Peer
โมเดลแบบ Super-Peer เป็นโมเดลใหม่ที่เพิ่งจะ เกิดขึ้นไม่นานมานี้โดยเป็นการเอาระบบแบบศูนย์กลางไปรวม อยู่ในระบบแบบกระจาย โมเดลแบบ Super-Peer จะช่วยลดปริมาณในการจัดการของเซิร์ฟเวอร์ อีกทั้งช่วยเพิ่มความสามารถในเรื่องของการขยายขนาดและความคงทนของเครือข่าย และลดปัญหาอื่นๆที่เกิดขึ้นในโมเดลแบบ Pure P2P และ Hybrid P2P Super Peer คือเพียร ที่ทำหน้าที่เหมือนเป็นเซิร์ฟเวอร์ กลางให้กับกลุ่มของไคลเอนต์แต่ละกลุ่มไคลเอนต์จะส่งคำร้องขอและรับผลลัพธ์ของคำร้องขอนั้นจาก Super Peer ในขณะที่ Super Peer แต่ละเพียร์ ก็จะเชื่อมต่อถึงกันด้วยเครือข่ายแบบ Pure P2P โดย Super Peer จะทำหน้าที่เป็นตัวควบคุม(controller),
ปรับแต่ง (configuration), ดูแล (administration) และรักษาความปลอดภัย (security) ให้กับไคลเอนต์ ที่อยู่ในกลุ่มดังนั้นในแต่ละ Super Peer จะต้องมีโพรโตคอลในการติดต่อสื่อสารอยู่ 2 โพรโตคอล คือโพรโตคอลในการติดต่อสื่อสารระหว่าง Super Peer กับไคลเอนต์ และโพรโตคอลในการติดต่อสื่อสารระหว่าง Super Peer กับ Super Peer อื่น โมเดลแบบ Super Peer มีจุดเด่นคือช่วยลดเวลาและแบนด์วิธที่ใช้ในการค้นหา, แต่ละหน่วยจะมีความเป็นอิสระสูง, สามารถควบคุมและจัดการได้ง่าย, สามารถทำ load balancing ได้เป็นต้น แต่โมเดล Super Peer นี้ถ้า Super Peer เสียก็จะทำให้ไคลเอนต์ที่อยู่ในกลุ่มนั้นไม่สามารถทำงานได้ แต่ปัญหานี้สามารถลดได้โดยการที่ให้มีSuper Peer มากกว่าหนึ่งเพียร์ ในแต่ละกลุ่ม


Super-Peer Model

เทคโนโลยีจอภาพคอมพิวเตอร์

เปรียบเทียบเทคโนโลยีจอภาพคอมพิวเตอร์
โดยทั่วไปการทำงานของหลอดสี CRT จะคล้ายคลึงกับหลอด CRT ขาว-ดำ แตกต่างกันเพียงหลอดสีจะมี อุปกรณ์ยิงลำแสงเรียกว่า “electron gun” และ กลุ่มอะตอม phosphors 3 สีได้แก่ สีแดง เขียว และน้ำเงิน ซึ่งเป็นพื้นฐานนำไปสร้างสีได้อีกหลากหลาย แต่ปัญหาที่พบในการเพิ่มเติมสีลงไปในหลอดภาพคือ ถ้าลำแสงไม่เที่ยงตรงเพียงพอ จะทำให้ได้สีที่ผิดไป หรือไม่มีความชัดเจน

แนวทางในการแก้ปัญหามีอยู่ 2 ทาง ทางแรกโดยการใช้หน้ากาก (หรือที่เราเรียกว่า "shadow mask") หน้ากากนี้ทำด้วยแผ่นเหล็ก เจาะรู ซึ่งจะยอมให้ลำแสงของสีที่ถูกต้องผ่านเท่านั้น อีกวิธีซึ่งได้รับการพัฒนาโดย Sonyเรียกว่า "aperture grille" โดยได้เปลี่ยนจากการใช้จุด phosphors มาเป็นเส้นตามแนวยาว จากนั้นจะใช้สายโลหะกั้นระหว่างเส้น phosphors แต่ละเส้น โดยสายโลหะนี้จะทำหน้าที่เช่นเดียวกับ Shadow mask นั่นเอง

ประเภทของ Shadow Mask
คลิกที่รูปเพื่อดูรูปที่ชัดเจน
คลิกที่รูปเพื่อดูรูปที่ชัดเจน
Dot Type จอภาพคอมพิวเตอร์ทั่วไปใช้เทคโนโลยีประเภทนี้เพราะ ราคาถูกเมื่อเปรียบเทียบกับประสิทธิภาพแล้วจึงเหมาะสม เพราะความคมชัดของจอประเภทนี้มีไม่มาก
Aperture Grill เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้การแสดงภาพด้านมัลติมีเดียที่ต้องการแสดงเฉดสีสูงๆได้ดีมากแต่มีจุดด้อย ในเรื่องของความคมชัดสังเกตุได้จากตัวอักษร และมีเงาของสายโลหะ เป็นเส้นแนวนอน บริเวณ 1/3 และ 2/3 ของจอ
Stripe Type เป็นเทคโนโลยี่ที่ให้จุดโฟกัสของลำแสงได้ดีทำให้การมองภาพโดยเฉพาะ ประเภทตัวอักษรมีความคมชัดมากมีความละเอียดของภาพสูง แต่การให้เฉดสียังไม่เท่ากับ Aperture Grill 
การดูข้อมูลทางด้านเทคนิค

ดอตพิตช์ ( Dot pitch ) รูปภาพต่างๆที่แสดงขึ้นมาบนจอเกิดจากการรวมตัวกันของเม็ดสีเล็กๆหลายๆเม็ดทำให้เกิดภาพขึ้นมา ดังนั้นในการเลือกซื้อจอภาพคอมพิวเตอร์ให้สังเกตค่า ดอตพิตช์ (Dot pitch) หรือ ดอตสเปช (Dot space) ว่ามีค่าเท่าไร โดยค่าดังกล่าวนี้ไม่ควรเกิน 0.25 มิลลิเมตร

ความละเอียดของจอภาพคอมพิวเตอร์ ( Resolution ) ความละเอียดของจอภาพคอมพิวเตอร์ เราควรพิจารณาดูว่าค่าResolution ว่าเหมาะสมกับขนาดของจอหรือไม่ โดยทั่วไปจอขนาด 15” ควรจะมีค่า Resolution 800 x 600 จอขนาด 17” 1024 x 768 และจอขนาด 19” 1280 x 1024 หรือ 1200 x 1600

อัตราการแสดงภาพ ( Refresh Rate ) Refresh Rate อย่างน้อยควรจะไม่ต่ำกว่า 75 Hz ซึ่งเป็นอัตราที่พอใช้ได้ไม่ทำให้เกิดอาการภาพกระพริบหรือเกิดอาการปวดหัวของผู้ใช้ ค่า Refresh Rate ยิ่งสูงยิ่งดี

ตรวจสอบมาตรฐาน ( Energy star compliance ) เป็นมาตราฐานของจอที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพ ของหน่วยงานการป้องกันสิ่งแวดล้อม ประเทศอเมริกา เมื่อเราพบมาตราฐานนี้นอกเหนือจากการป้องกันในเรื่องของสิ่งแวดล้อมแล้ว มาตรฐานนี้จะช่วยให้เราทราบได้ว่าจอนั้นๆมีคุณภาพในการใช้งานที่คงทนและยังช่วยในการประหยัดพลังงานอีกด้วย 

Ethernet over VDSL

เทคโนโลยีที่จะนำมาแนะนำในวันนี้ เป็นเทคโนโลยีที่ถูกออกแบบมาให้เหมาะสมกับการนำไปใช้งาน สำหรับอาคารประเภท MxU แต่สำหรับ 'อาคาร MxU' นี้มันคืออะไร ก็ต้องตามอ่านต่อไปเรื่อยๆ นะครับ แล้วเดี๋ยวผมจะบอกให้ฟัง (อ่าน) นะครับ เทคโนโลยีที่จะกล่าวถึงในวันนี้ มีชื่อว่า... เทคโนโลยี Ethernet over VDSL ครับ
MxU Building (MTU & MDU)
ก่อนที่เราจะไปกล่าวถึงเทคโนโลยี Ethernet over VDSL ผมขอกล่าวถึง MxU Building ซึ่งเป็นอาคารที่เหมาะแก่การนำเจ้าเทคโนโลยีนี้ไปใช้กันก่อนนะครับ
MxU Building นั้นเป็นคำย่อ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้...
  1. MTU (Multi-Tenant Units): คืออาคารที่ประกอบไปด้วยสำนักงานหรือองค์กรต่างๆ รวมกันอยู่อย่างหลากหลาย หรือจะเรียกง่ายๆ ก็คืออาคารที่เปิดให้องค์กรต่างๆ เช่าพื้นที่ในการใช้เป็นสำนักงาน อย่างตามอาคารที่เราเห็นขึ้นป้ายว่า “Office for Rent”
    นั่นแหละครับ
  2. MDU (Multi-Dwelling Units): สำหรับอาคารประเภทนี้จะเป็นประเภทอาคารบ้านพักที่ไม่ใช่สำนักงาน ยกตัวอย่างง่ายๆ ก็เช่น... พวกหอพัก, คอนโดมิเนียม, โรงแรม หรือแม้กระทั่งรีสอร์ทและบ้านพักตากอากาศต่างๆ ก็จัดอยู่ในประเภท MDU เหมือนกัน
จะเห็นได้ว่าอาคารประเภท MxU นั้นเป็นอาคารประเภทที่มีอยู่แพร่หลายมากมาย ฉะนั้นการแข่งขันในตลาดนี้จึงมีอยู่อย่างสูง สิ่งที่จะนำมาเป็นข้อได้เปรียบและทำให้ MxU Building ใดๆ เหนือกว่าอาคารของคู่แข่ง และดึงดูดลูกค้าหรือองค์กรให้เข้ามาใช้บริการ นอกจากจะเป็นเรื่องของสถานที่ตั้ง, ราคา, สิ่งแวดล้อม, สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ซึ่งถือว่าแต่ละที่ค่อนข้างมีใกล้เคียงกันอยู่แล้ว การมีบริการเสริม หรือ Value Added Service ที่อาคาร MxU อื่นๆ ไม่มี ก็ถือว่าเป็นอีกปัจจัยหนึ่ง ที่ช่วยให้การตัดสินใจของลูกค้าง่ายขึ้นได้อีกด้วย โดยเฉพาะในปัจจุบันที่การใช้งานระบบเครือข่าย Internet ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของคนส่วนใหญ่ ดังนั้นจึงมีการนำเอาระบบ Internet เข้ามาประยุกต์เป็นบริการเสริมในการใช้งานสำหรับอาคาร MxU โดยเฉพาะอาคารประเภท MDU ซึ่งยังเป็นการยกระดับอาคารของเราให้เหนือกว่าของคนอื่น
จากการสำรวจของสำนักงาน Asia Industry Market Labs. เกี่ยวกับเรื่องการนำระบบ Internet มาประยุกต์ใช้งานสำหรับอาคารประเภท MxU ไม่ว่าจะเป็นโรงแรม, คอนโดมิเนียม, อพาร์ทเมนท์ รวมถึงรีสอร์ทต่างๆ มากกว่า 5,000 แห่งในภูมิภาคเอเชีย พบว่าเกือบครึ่งได้มีการนำระบบ Internet มาประยุกต์ใช้เพื่อเป็นบริการเสริม ให้กับลูกค้าเรียบร้อยแล้ว และที่น่าสนใจก็คือ ไม่มีอาคารแห่งใดเลยในการสำรวจ ที่ไม่สนใจจะนำระบบ Internet มาประยุกต์เพื่อบริการลูกค้าของตน
ทำไมต้องเป็นเทคโนโลยี VDSL ?
จากที่ได้กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่าการนำระบบ Internet เข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อเป็นบริการเสริม ให้กับลูกค้าสำหรับอาคารประเภท MxU นั้นจะเริ่มมีการแพร่หลายกันมากขึ้น ซึ่งในปัจจุบันนี้ก็มีเทคโนโลยีต่างๆ มากมายที่เข้ามารองรับกับการใช้งานตรงนี้ แต่สำหรับผมนั้น จะขอกล่าวถึงการนำเทคโนโลยี VDSL (Very high bit rate Digital Subscriber Line) เข้ามาใช้งานเพื่อรองรับการเพิ่มระบบ Internet สำหรับอาคาร MxU
สาเหตุที่ผมเลือกนำเทคโนโลยี VDSL มาแนะนำก็เพราะว่า VDSL เป็นเทคโนโลยีที่มีความยืดหยุ่นสูง สามารถรองรับการใช้งานระบบ Internet ได้ในความเร็วสูง ได้ระยะทางที่ไกล และที่สำคัญ เทคโนโลยี VDSL นั้นสามารถนำมาประยุกต์ใช้งานกับสายโทรศัพท์ธรรมดา ซึ่งจุดนี้ถือเป็นจุดเด่นของเทคโนโลยี VDSL เลยก็ว่าได้ เนื่องจากจะเห็นได้ว่าอาคารประเภท MxU ทุกแห่งนั้นจะต้องมีการเดินสายโทรศัพท์ภายในอาคารไปตามห้องพักต่างๆ อยู่แล้ว ฉะนั้นเมื่อเราต้องการเพิ่มเติมระบบ Internet ให้กับห้องพักต่างๆ ในอาคารแล้ว ด้วยเทคโนโลยี VDSL เราไม่จำเป็นต้องทำการเดินสายเคเบิล UTP หรือสาย Fiber เพิ่มเติมเลย เพราะว่าเราสามารถนำเทคโนโลยี VDSL เข้ามาใช้งานร่วมกับระบบสายโทรศัพท์เดิมได้เลย ซึ่งจะทำให้เราสามารถให้บริการระบบ Internet ไปยังห้องต่างๆ ภายในอาคารโดยอาศัยสายโทรศัพท์เป็นตัวรับ-ส่งข้อมูล พร้อมกันนั้นเรายังสามารถใช้งานระบบโทรศัพท์ได้เหมือนเดิมอีกด้วย
ซึ่งสำหรับการติดตั้งอุปกรณ์ VDSL นั้น จะเป็นการติดตั้งในลักษณะ จุด-ต่อ-จุด หรือ Point-to-Point โดยที่อุปกรณ์ฝั่งหนึ่งจะเป็นอุปกรณ์ด้าน Provider สำหรับต่อเข้ากับแผง MDF เดิมของระบบโทรศัพท์ ส่วนอีกด้านหนึ่งจะเป็นอุปกรณ์ด้าน Subscriber ซึ่งจะติดตั้งอยู่ตามห้องพักต่างๆ ของอาคารตามรูปการเชื่อมต่อ ซึ่งหลังจากติดตั้งอุปกรณ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว จะทำให้ตามห้องพักต่างๆ สามารถใช้งานระบบ Internet ความเร็วสูงได้ และยังสามารถใช้ระบบโทรศัพท์ภายในตามห้องพัก หรือตามเบอร์ Extension ต่างๆ ได้ตามปกติอีกด้วย
ข้อดีของระบบ Ethernet over VDSL
  • รองรับการใช้งานระบบ Internet ความเร็วสูง โดยสามารถรองรับความเร็วได้สูงสุดถึง 10 Mbps Full-Duplex Ethernet
  • รองรับระยะทางในการใช้งานได้สูงสุดถึง 1.2 กิโลเมตร
  • สามารถใช้งานได้กับสายโทรศัพท์ตั้งแต่ Category 1, 2, 3 หรือ 5 ทำให้ไม่จำเป็นต้องเดินสายเคเบิล UTP หรือ Fiber ใหม่เลย
  • สัญญาณรบกวนต่างๆ (Noise) มีผลกับการใช้งานน้อยมาก
  • มีความสามารถในการทำ Traffic Shaping ทั้งการรับ-ส่งข้อมูลแบบ Upstream และ Downstream
  • ติดตั้งและใช้งานได้โดยง่าย
  • สามารถใช้ระบบ Internet ความเร็วสูงได้โดยไม่มีผลกระทบกับระบบโทรศัพท์เดิม
เป็นอย่างไรบ้างครับสำหรับเทคโนโลยี Ethernet over VDSL มีประโยชน์อย่างมากมายเลยใช่ไหมครับ ทั้งความยืดหยุ่นในการใช้งาน, ความสะดวกสบายในการติดตั้งอุปกรณ์ รวมถึงเรื่องของคุณภาพของการทำงาน และราคาก็สมเหตุสมผล สำหรับท่านใดที่เป็นเจ้าของอาคารประเภท MxU และกำลังมองหาบริการเสริมเพื่อยกระดับอาคาร ของท่านให้เหนือกว่าอาคารอื่นๆ แล้วล่ะก็ ผมขอแนะนำเทคโนโลยี Ethernet over VDSL นี้เลยนะครับ รับรองว่าคุ้มค่าครับ
ร่วมสนับสนุนข้อมูลโดย

ISDN

ISDN (Integrated Services Digital Network) เป็นระบบที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารที่เป็น Circuit Switched แบบ digital ซึ่งถูกใช้งานมานานนับสิบปี ระบบนี้ยอมให้มีการส่งข้อมูล ภาพวีดีโอ ไปพร้อมๆกับเสียงด้วยความเร็วสูง ถูกตั้งเป็นมาตรฐานโดย ITU-T ในการพัฒนาระบบ PSTN (Public Switched Telephone Network) ให้เป็นการให้บริการแบบ Digital ที่มีความเร็วเหนือกว่า Modem ทั่วไป ในระบบ ISDN จะแบ่งการทำงานเป็น 2 ส่วนคือส่วน Bearer channel และ Data หรือ Delta Channel โดย Bearer channels (B channels) ทำหน้าที่ให้บริการ เสียง วีดีโอ หรือการส่งถ่ายข้อมูล ในขณะที่ Data Channel (D channel) นั้นเป็นตัวจัดการสัญญาณเรียกเข้าในระบบ network และการตอบรับ กำหนดเบอร์เรียกเข้า

การใช้บริการ ISDN แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ Basic Rate Interface (BRI) และ Primary Rate Interface (PRI) ในส่วนของ BRI นั้นจะใช้ 2 B channel คือ 64 kbps นั้นคือ 128 Kbps และใช้ 1 D channel 16 kbps รวมแล้วจะได้ bandwidth 144 kbps การบริการของ BRI นั้นเน้นที่ผู้ใช้ทั่วไปที่ไม่ใช่ในระดับองค์กร

ส่วนของ PRI นั้นจะเน้นการใช้งานในระดับองค์กรที่ไม่ใหญ่มากนักเพราะจะมี Bandwidth ที่มากกว่า และส่งข้อมูลได้ทีละมากๆ ที่ PRI จะใช้ 23 B channel และ 1 D channel plus 64 kbps รวมแล้วจะได้ถึง 1536 kbps ในแถบ Europe นั้น PRI จะใช้ 30 B channel และ 1 D channel 64 kbps Bandwidth รวมจะได้ 1984 kbps

รูปแสดง ISDN Architectural Information
ส่วนประกอบที่ใช้ในระบบ ISDN
  1. ISDN Terminal Equipment 
    มี 2 ชนิดคือ TE1 และ TE2 โดย TE1 นั้นคืออุปกรณ์นั้นจะต้องเป็นโทรศัพท์ที่เป็นระบบ ISDN อยู่แล้วโดยสายจะเป็น 4 เส้นตีเกลียว ส่วน TE2 นั้นจะเป็นโทรศัพท์บ้านทั่วไปซึ่งถ้าจะใช้งานแบบ ISDN ต้องมีอุปกรณ์เสริมที่เรียกว่า TA 
  2. ISDN Termination Equipment 
    เรียกในส่วนนี้ว่า NT (Network Terminal) เป็นส่วนที่ต่อระหว่างสายที่มี 4 เส้นตีเกลียวกับ สาย PSTN 2 เส้นด้าน Local loop ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ชนิด
    - NT1 เป็นส่วนที่ติดต่อโดยตรงกับ ISDN ภายนอกกับส่วน NT2
    - NT2 สำหรับ digital PBX หรือส่วนที่ยอมให้มีการต่อ analog device เช่น โทรศัพท์ หรือ Fax แล้วเปลี่ยนเป็น Digital
    - NT1/2 จัดการทั้ง 2 ส่วนคือทั้ง NT1 และ NT2 
  3. ISDN Reference Point 
    จะแบ่งออกเป็น 4 ส่วน 
    - R เป็นจุดต่อระหว่าง Non-ISDN หรืออุปกรณ์โทรศัพท์ทั่วไปกับ TA
    - S เป็นจุดต่อระหว่าง อุปกรณ์สำหรับ ISDN แล้วกับ NT2
    - T เป็นจุดต่อระหว่าง NT1 กับ NT2 device
    - U เป็นจุดต่อระหว่าง NT1 Device กับ วงจรภายนอก
    ในปัจจุบันอุปกรณ์ ISDN นั้นจะรวมชุด NT1 เข้ามาด้วยแล้วทำให้งานกับการใช้งานมากขึ้น
คลิกที่รูปเพื่อดูรูปที่ชัดเจน
คลิกที่รูปเพื่อดูรูปที่ชัดเจน 

ตารางเปรียบเทียบ ADSL และ ISDN
คุณสมบัติ
ADSL
ISDN
ความเร็ว
8Mbps./ 1Mbps.(Download/ Upload)
128Kbps
การเชื่อมต่อ
ติดต่อตลอดเวลา (Always On)
  • เชื่อมต่อได้ทันทีที่ต้องการ
  • หมดปัญหาสายไม่ว่าง สายหลุด
  • การใช้งานในลักษณะ Point to Point สามารถทำได้ แต่ต้องอาศัยการตั้งค่า ที่ผู้ให้บริการ
หมุนโทรศัพท์เมื่อต้องการใช้งาน (Dial-up)
  • ใช้เวลาสร้าง connection ประมาณ 45 วินาที - 1 นาที
  • เกิดปัญหาเช่นเดียวกับ 56K Modem คือปัญหาสายไม่ว่าง สายหลุด
  • สะดวกในการใช้งานในลักษณะ Point - Point เช่น หากต้องการทำ Video Conference กับเลขหมาย ISDN ใดก็สามารถหมุนได้ทันที
ใช้งานโทรศัพท์ ขณะเชื่อมต่อ
ได้
ได้ (แต่จะเหลือ Bandwidth สำหรับใช้ส่งข้อมูลเพียง 64Kbps.)
ข้อได้เปรียบ
  • ความเร็ว
  • Always On
  • ไม่มีปัญหาสายหลุด สายไม่ว่าง
  • ไม่จำเป็นต้องขอสายใหม่
  • ค่าใช้จ่ายต่ำกว่า
  • ใช้งานแบบ Point to Point ได้สะดวกมากกว่า
ข้อเสียเปรียบ
  • พี้นที่ให้บริการจำกัด แต่ขยายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
  • พื้นที่ให้บริการจำกัด และไม่ขยายเพิ่ม จากที่มีในปัจจุบันอีกแล้ว
  • ปัญหาสายไม่ว่าง สายหลุด
  • ต้องขอสาย ISDN ใหม่

ADSL

ปัจจุบันเทคโนโลยีการเข้าถึง (Access) เครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้รุดหน้าไปอย่างมาก เริ่มตั้งแต่การพัฒนาอุปกรณ์ที่เพิ่มประสิทธิภาพในการ Access เครือข่าย อินเทอร์เน็ต โดยเริ่มตั้งแต่เทคโนโลยีของ Modem จาก V.90 ที่ให้ความเร็วในการรับส่งข้อมูลขนาด 56 Kbps ไปจนถึง ISDN ที่ให้อัตราความเร็วในการ Access เครือข่าย อินเทอร์เน็ต 64-128 Kbps ไม่เพียงเท่านี้ ยังมีการพัฒนาวิธีการ Access อินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม ซึ่งให้อัตราความเร็ว 140-400 Kbpsสำหรับในประเทศไทย รูปแบบของการให้บริการ Access อินเทอร์เน็ต ได้รับพัฒนาเรื่อยมา สอดคล้องกับความร้อนแรงของการแข่งขัน จนนำไปสู่การเสนอรูปแบบและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าเดิม เร็วกว่าเดิม และดีกว่าเดิม นั่นคือ ADSL
ADSL คืออะไร?
ADSL มาจากคำว่า Asymmetric Digital Subscriber Line เป็นเทคโนโลยีของ Modem แบบใหม่ ที่เปลี่ยนโฉมหน้าของสายโทรศัพท์ที่ทำจากลวดทองแดง ให้เป็นเส้นสัญญาณนำส่งข้อมูลความเร็วสูง โดย ADSL สามารถจัดส่งข้อมูลจากผู้ให้บริการด้วยความเร็วมากกว่า 6 Mbps ไปยังผู้รับบริการ หมายความว่า ผู้ใช้บริการสามารถ Download ข้อมูลด้วยความเร็วสูงมากกว่า 6 Mbps ขึ้นไปจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต หรือผู้ให้บริการข้อมูลทั่วไป (ส่วนจะได้ความเร็ว กว่า 6 Mbps หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการ รวมทั้งระยะทางการเชื่อมต่ออีกด้วย) ความเร็วขณะนี้ มากเพียงพอสำหรับงานต่างๆ ดังต่อไปนี้
  • งาน Access เครือข่าย อินเทอร์เน็ต
  • การให้บริการแพร่ภาพ Video เมื่อร้องขอ (Video On Demand)
  • ระบบเครือข่าย LAN
  • การสื่อสารข้อมูลระหว่างสถานที่ทำงานกับบ้าน (Telecommuting) 
ประโยชน์จากการใช้บริการ ADSL
  • ท่านสามารถคุยโทรศัพท์พร้อมกันกับการ Access ใช้งานอินเทอร์เน็ตได้พร้อมกัน ด้วยสายโทรศัพท์เส้นเดียวกัน โดยไม่หยุดชะงัก
  • ท่านสามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วเป็น 140 เท่าเมื่อเทียบกับการใช้ Modem แบบ Analog ธรรมดา
  • การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของท่านจะถูกเปิดอยู่เสมอ (Always-On Access) ที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจากการส่งถ่ายข้อมูลถูกแยกออกจากการ เรียกเข้ามาของ Voice หรือ FAX ดังนั้นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของท่านจะไม่ถูกกระทบกระเทือนแต่อย่างใด
  • ไม่มีปัญหาเนื่องสายไม่ว่าง ไม่ต้อง Log On หรือ Log off ให้ยุ่งยากอีกต่อไป
  • ADSL ไม่เหมือนกับการให้บริการของ Cable Modem ตรงที่ ADSL จะทำให้ท่านมีสายสัญญาณพิเศษเฉพาะเพื่อเชื่อมต่อกับ อินเทอร์เน็ต ขณะที่ Cable Modem เป็นการ Share ใช้สายสัญญาณกับผู้ใช้คนอื่นๆ ที่อาจเป็นเพื่อนบ้านของท่าน
  • ที่สำคัญ Bandwidth การใช้งานของท่านจะมีขนาดคงที่ (ตามอัตราที่ท่านเลือกใช้บริการอยู่เสมอ) ขณะที่ขนาดของ Bandwidth ของการเข้ารับบริการ Cable Modemหรือการใช้บริการ อินเทอร์เน็ตปกติของท่าน จะถูกบั่นทอนลงตามปริมาณการใช้งาน อินเทอร์เน็ตโดยรวม หรือการใช้สาย Cable Modem ของเพื่อนบ้านท่าน
  • สายสัญญาณที่ผู้ให้บริการ ADSL สำหรับท่านนั้น เป็นสายสัญญาณอิสระไม่ต้องไป Share ใช้งานกับใคร ด้วยเหตุนี้ จึงมีความน่าเชื่อถือ และมีความปลอดภัยสูง 
อัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลบน ADSL
ADSL ที่ว่าทำงานเร็ว นั้นเร็วเท่าใดกันแน่ ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจก่อนว่า ADSL มีอัตราความเร็วขึ้นอยู่กับชนิด ดังนี้
  • Full-Rate ADSL เป็น ADSL ที่มีศักยภาพในการส่งถ่ายข้อมูลข่าวสาร ที่ความเร็ว 8 เมกกะบิต ต่อวินาที
  • G.Lite ADSL เป็น ADSL ที่สามารถส่งถ่ายข้อมูลข่าวสารได้สูงถึง 1.5 เมกกะบิตต่อวินาที ขณะที่กำลัง Download ความเร็วขนาดนี้ คิดเป็น 25 เท่าเมื่อเทียบกับการใช้ Modem แบบ Analog ขนาด 56K และคิดเป็น 50 เท่าเมื่อเทียบกับการใช้ Modem ความเร็ว 28.8K
  • ผู้ให้บริการ ADSL สามารถให้บริการ ที่ความเร็วต่ำขนาด 256K ด้วยค่าใช้จ่ายต่ำ 
อัตราความเร็วขึ้นอยู่กับ ระดับของการให้บริการ จากผู้ให้บริการ โดยปกติแล้ว Modem ที่เป็นระบบ ADSL สามารถ Download ข้อมูลได้ที่ความเร็ว 256 กิโลบิตต่อวินาที ไปจนถึง 8 เมกกะบิตต่อวินาที นอกจากนี้ มาตรฐาน G.lite ที่กำลังจะมาใหม่ สามารถให้บริการที่อัตราความเร็วเป็น 1.5 เมกกะบิตต่อวินาที
ADSL สามารถทำงานที่ Interactive Mode หมายความว่า ที่ Mode การทำงานนี้ ADSL สามารถให้บริการรับส่งข้อมูล ที่ความเร็วมากกว่า 640 Kbps พร้อมกันทั้งขาไปและขากลับ
ขีดความสามารถของ ADSL
เทคโนโลยีของ ADSL เป็นแบบ Asymmetric มันจะให้ Bandwidth การทำงานที่ Downstream จากผู้ให้บริการ ADSL ไปยังผู้รับบริการสูงกว่า Upstream ซึ่งเป็นการส่งข้อมูลจากผู้ใช้บริการหรือลูกค้า ไปยังผู้ให้บริการ(ดังรูปที่ 1 และ 2)

รูปที่ 1 แสดงความเร็วในการถ่ายเทข้อมูลแบบ Upstream/Downstream

รูปที่ 2 แสดงเปรียบเทียบความเร็วของระบบ
วงจรของ ADSL จะเชื่อมต่อ ADSL Modem ที่ทั้งสองด้านของสายโทรศัพท์ ทำให้มีการสร้างช่องทางของข้อมูลข่าวสารถึง 3 ช่องทาง ได้แก่
  • ช่องสัญญาณ Downstream ที่มีความเร็วสูง
  • ช่องสัญญาณ ความเร็วปานกลางแบบ Duplex (ส่งได้ทางเดียว)
  • ช่องสัญญาณที่ให้บริการโทรศัพท์พื้นฐาน
ช่องสัญญาณ Downstream ความเร็วสูง มีความเร็วระหว่าง 1.5-6.1 Mbps ส่วนอัตราความเร็วของช่องสัญญาณแบบ Duplex อยู่ที่ 16-640 Kbps นอกจากนี้ ในแต่ละช่องสัญญาณยังสามารถแบ่งออกเป็นช่องสัญญาณย่อยๆ ที่มีความเร็วต่ำ ที่เรียกว่า Sub-Multiplex ได้อีกหลายช่อง
ADSL Modem สามารถให้อัตราความเร็วการส่งถ่ายข้อมูลมาตรฐานเทียบเท่า North American T1 1.544 Mbps และ European E1 2.048 Mbps โดยผู้ใช้บริการสามารถเลือกซื้อบริการความเร็วได้หลายระดับ
ระยะทางและอัตราความเร็วของ ADSL
อัตราความเร็วของข้อมูล คิดเป็น Mbpsขนาดของเส้นลวดสำหรับ สายสัญญาณมีค่า เป็น(AWG)ระยะทางคิดเป็น ฟิต (Feet)ขนาดของสายสัญญาณระยะทางคิดเป็น กิโลเมตร
1.5 หรือ 22418,0000.55.5
1.5 หรือ 22615,0000.44.6
6.12412,0000.53.7
6.1269,0000.42.7
อย่างไรก็ดี งาน Application ที่ต้องใช้บริการ ADSL ส่วนใหญ่ จะเป็นพวก Compressed Digital Video เนื่องจากเป็นสัญญาณประเภททำงานแบบเวลาจริง (Real-Time) ด้วยเหตุนี้ สัญญาณ Digital Video เหล่านี้ จึงไม่สามารถใช้ระบบควบคุมความผิดพลาด แบบที่มีอยู่ในระดับของเครือข่ายทั่วไป ดังนั้น ADSL Modem จึงมีระบบ ที่เรียกว่า Forward Error Correction ซึ่งเป็นระบบที่ช่วยลดความผิดพลาด ที่อาจเกิดขึ้นโดยสัญญาณรบกวน ที่เกิดขึ้นในห้วงเวลาสั้นมาก หรือที่เรียกว่า Impulse Noise โดย ADSL Modem จะใช้วิธีการตรวจสอบความผิดพลาด ที่ทำงานบนพื้นฐานของ การกำหนดให้มีการตรวจสอบสัญญาลักษณ์ทีละตัว การทำเช่นนี้ ก็ยังช่วยให้ เป็นการลด ปัญหาการควบของสัญญาณรบกวนในสาย
ADSL ทำงานได้อย่างไร? 
หลักการทำงานของ ADSL ไม่มีอะไรมาก เนื่องจากว่า สายโทรศัพท์ที่ทำจากลวดทองแดง มี Bandwidth สูงคิดเป็น หลายๆ MHz ดังนั้น จึงมีการแบ่งย่านความถี่นี้ออกเป็นส่วน เพื่อใช้งานโดยวิธีการแบบที่เรียกว่า FDM (Frequency Division Multiplexing) ซึ่งเป็นเทคนิคการแบ่งช่องสัญญาณออกเป็นหลาย ๆ ช่อง โดยที่แต่ละช่องสัญญาณจะมีความถี่ที่แตกต่างกัน ดังนั้น จะได้ Bandwidth ต่างๆ ดังนี้
  • ย่านความถี่ขนาดไม่เกิน 4 KHz ปกติจะถูกนำมาใช้เป็น Voice กับ FAX
  • ย่านความถี่ที่สูงกว่านี้ จะถูกสำรองจองไว้ให้การรับส่งข้อมูล โดยเฉพาะ ซึ่งจะถูกแบ่งออกเป็น หลายย่านความถี่ เช่น ช่องสัญญาณสำหรับ การรับข้อมูลแบบ Downstream ตัวอย่าง เช่นการ Download ข้อมูล ส่วนช่องสัญญาณอื่นมีไว้สำหรับการส่งข้อมูลที่มีความเร็วต่ำกว่า Downstream ซึ่งเรียกว่า Upstream หรือสำหรับการ Upload ข้อมูล เป็นต้น (ดูรูปที่ 3 )
รูปที่ 3 ภาพแสดงการแบ่งย่านความถี่ของ ADSL

สถาปัตยกรรมการทำงานของเครือข่าย ADSL

รูปที่ 4 ภาพแสดงโครงสร้าง Infrastructure ของเครือข่าย ADSL
รูปที่ 4 เป็นการแสดงการเชื่อมต่อ ADSL ในลักษณะเครือข่าย Broad Band ซึ่งสถาปัตยกรรมแบบนี้ เป็นแบบเรียบง่าย โดยผู้เข้ารับบริการมีเพียง Modem ที่เป็นระบบ ADSL เท่านั้น เสียบเข้ากับ Connector ที่เป็นอุปกรณ์เรียกว่า Splitter หรือ Filter ซึ่งมีลักษณะคล้ายเต้าเสียบสายโทรศัพท์ ซึ่งจะมี Connector 2 ช่อง โดยช่องหนึ่งสำหรับเสียบสาย Modem ขณะที่อีกช่องหนึ่งสำหรับเสียบเข้ากับสายโทรศัพท์ ตามปกติ และสามารถใช้งานได้พร้อมๆกัน บนสายโทรศัพท์เส้นเดียวกันเท่านั้น (ADSL Modem บางแบบสามารถติดตั้งเข้ากับสายโทรศัพท์ได้เลย ไม่ต้องเชื่อมต่อกับ Splitter) ลักษณะของตัว Splitter หรือ Filter ดังรูปที่ 5 และ 6
รูปที่ 5 ภาพแสดง อุปกรณ์ Splitter

รูปที่ 6 ภาพแสดงการเชื่อมต่อระหว่าง ADSL Modem ที่บ้าน
ใช้บริการสามารถใช้โครงข่าย ADSL นี้เพื่อการ Access เข้าไปขอรับบริการจากผู้ให้บริการ (Provider) เช่น Internet Provider หรือ ผู้ให้บริการ Video On Demand Server หรือผู้ให้บริการข้อมูลต่างๆ เป็นต้น

สถานที่ผู้เข้ารับบริการ ADSL นั้น นอกจากจะต้องมี ADSL Modem แล้ว ยังต้องมี อุปกรณ์เล็กๆตัวหนึ่ง ซึ่งได้กล่าวมาแล้วคือ Splitter หรือ Filter ซึ่งอุปกรณ์ตัวนี้ จะทำหน้าที่แยกสัญญาณเสียงที่มีความถี่ไม่เกิน 4 KHz สำหรับการส่ง Voice เช่นการพูดคุยโทรศัพท์ ส่วนย่านความถี่ที่เหลือ เช่น 1-2 MHz ขึ้นไป จะถูกกันไว้เพื่อการส่งข้อมูล (Upstream) และรับข้อมูลเข้ามา (Downstream) โดยที่ Splitter สามารถแยกสัญญาณทั้ง 3 ออกจากกัน ดังนั้นท่านสามารถคุยโทรศัพท์ขณะที่ยังสามารถ Download ข้อมูลจาก อินเทอร์เน็ตพร้อมกันได้

ส่วนที่ศูนย์บริการระบบ ADSL นั้น เราเรียกว่า CO หรือ Central Office ซึ่งอาจเป็นของผู้ให้บริการ ADSL หรือไม่ก็อาจเป็นชุมสายโทรศัพท์เสียเองก็ได้ จะทำหน้าที่รับเอาสัญญาณ Voice Services (เสียงพูดโทรศัพท์) เข้ามาที่ตัว Voice Switch ซึ่งอาจรวมทั้ง Data ก็ได้ โดย สัญญาณทั้งสองจะมาสิ้นสุดที่อุปกรณ์ที่เรียกว่า Splitter ชุดใหญ่ที่ศูนย์ให้บริการแห่งนี้ ลักษณะนี้จะเห็นได้ว่า เส้นทาง Local Loop (เส้นทางการเชื่อมต่อระหว่างผู้ให้บริการกับผู้รับบริการ) จะไปสิ้นสุดที่ Access Node แทนที่จะเป็น CO Switch (คำว่า Access Node ในที่นี้หมายถึงอุปกรณ์ที่ใช้เพื่อสลับสัญญาณ ADSL หรือที่เรียกว่า DSLAM (DSL Access Multiplexer ส่วน CO Switch หรือ Voice Switch หมายถึงระบบสลับสัญญาณเพื่อให้บริการระบบโทรศัพท์)

หน้าที่ของ DSLAM ได้แก่การสลับสัญญาณ ADSL ที่เข้ามาพร้อมๆกันหลายช่อง โดยผ่านเข้ามาทางชุด Splitter ในศูนย์ผู้ให้บริการ ให้สามารถออกไปที่ เอาท์พุท ปลายทาง ซึ่งในที่นี้ได้แก่ ผู้ให้บริการระบบเครือข่ายต่างๆ เช่น ISP หรือผู้ให้บริการ Video On Demand หรือศูนย์ให้บริการข้อมูลข่าวสารต่างๆ หรือ สำนักงานใหญ่ของหน่วยงานธุรกิจภาคเอกชนก็ได้ (ดังรูปที่ 7)

รูปที่ 7 ภาพแสดงลักษณะของ DSLAM
ส่วนประกอบของโครงข่าย ADSL

รูปที่ 8 ภาพแสดงส่วนประกอบของระบบ ADSL
จากรูปที่ 8 จะเห็นว่า เครือข่าย ADSL ประกอบด้วย ADSL ATU-R ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ทำให้ผู้ใช้งานสามารถ Access เข้าไปที่เครือข่าย ADSL ได้ โดยที่อุปกรณ์ดังกล่าว อาจมีลักษณะเป็นกล่องเล็กๆ ที่วางบนเครื่อง PC หรือบน TV ก็ได้ ซึ่งโดยมากอุปกรณ์นี้ จะเป็น ADSL Modem พร้อมด้วย Splitter หรือ ADSL Router อย่างใดอย่างหนึ่งก็เป็นได้

การเชื่อมต่อสายจาก ATU-R อาจง่ายดายเหมือนการติดตั้ง 10Base-T LAN ก็ได้ หรือไม่ก็อาจมีความสลับซับซ้อน ดังเช่น การติดตั้งเครือข่าย ATM ก็เป็นได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ที่จะใช้ เพื่อการ Access เข้าไปที่เครือข่าย ADSL

อย่างไรก็ดี แม้ว่าจะเป็นการ Access เข้าไปที่ระบบเครือข่ายในรูปแบบของ Broad Band ก็ตาม แต่การเชื่อมต่อสายโทรศัพท์ ไม่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด เนื่องจากมีอุปกรณ์ ที่เรียกว่า Splitter ทำหน้าที่แยกสัญญาณ Analog ออกมาให้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ภายใน Central Office หรือชุมสายโทรศัพท์ท้องถิ่น (หรือผู้ให้บริการ ADSL) นั้น การให้สัญญาณเสียงแบบ Analog ซึ่งก็คือเสียงโทรศัพท์ จะถูกส่งผ่านไปที่ PSTN Voice Switch (ระบบโทรศัพท์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน) พร้อมด้วย Splitter ต่างหากอีกชุดหนึ่ง โดยสัญญาณโทรศัพท์จะถูกแยกออกไปที่ระบบสลับสายสัญญาณโทรศัพท์ปกติ ส่วน สัญญาณที่เป็นข้อมูลที่มาจาก ADSL Modem จะถูกส่งไปที่ DSLAM จากนั้นจะถูก Multiplex หรือสลับสัญญาณไปที่ผู้ให้บริการเครือข่ายต่างๆ เช่น ISP เป็นต้น

โดยปกติแล้ว Software สำหรับการสลับสายสัญญาณโทรศัพท์ไม่จำเป็นต้องได้รับการเปลี่ยนแปลง หรือ Upgrade แต่อย่างใด (ไม่เหมือนกับระบบ ISDN ที่ต้องการ Upgrade) นอกจากนี้ ADSL ยังช่วยลดจำนวนของ Voice Switch และลดปัญหา ความแออัดของ Trunk อันเนื่องมาจากการให้บริการที่ไม่ใช่ Voice อีกด้วย

การเชื่อมต่อของ ADSL ทั้งหมดที่มาจากผู้ใช้บริการ จะมารวมอยู่ที่ DSLAM จากนั้นก็จะถูกนำเข้าสู่อุปกรณ์ ที่เรียกว่า DACs ซึ่งอุปกรณ์ตัวนี้ จะพาเข้าสู่ Trunk ของเครือข่ายอีกทีหนึ่ง ซึ่ง Trunk นี้ อาจเป็น ระบบ Unchannelized T3 ซึ่งวิ่งที่ความเร็ว 45 Mbps และจากนั้นก็จะวิ่งเข้าสู่ ISP อีกทีหนึ่ง สำหรับในประเทศไทย มีผู้ให้บริการบางรายที่ใช้ Trunk เพื่อเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการ ISP เป็น Frame Relay ขนาดความเร็ว 512 Kbps (ขณะที่เขียนบทความอยู่นี้ คาดว่า Configuration นี้ได้รับการเปลี่ยนแปลงไปแล้ว) ดูรูปที่ 9
รูปที่ 9 แสดงการเชื่อมต่อของ UBT
ADSL กับมาตรฐานการทำงาน 
ในสหรัฐมีการกำหนดมาตรฐานการทำงานของ ADSL ในระดับปฏิบัติการเชิง Physical Layer โดย American National Standard Institute (ANSI) ได้กำหนดมาตรฐานของ ADSL ขึ้นมาเรียกว่า T.413-1995 ซึ่งในเอกสารมีการระบุว่า อุปกรณ์ ADSL สามารถสื่อสารกันบน เครือข่ายแบบ Analog Loop ได้อย่างไร แต่ในเอกสารไม่ได้ตั้งใจที่จะอธิบายสถาปัตยกรรมทั้งหมดของเครือข่ายรวมทั้งการให้บริการ นอกจากนี้ยังไม่ได้อธิบายหน้าที่การทำงานภายใน อุปกรณ์ ADSL Access Node ใดๆ แต่จะเน้นถึงการเข้ารหัสข้อมูลภายในสาย (จะส่งข้อมูลที่เป็นบิตได้อย่างไร?) รวมทั้งโครงสร้างของ Frame (บิตข้อมูลต่างๆถูกจัดเข้าเป็นองค์ประกอบได้อย่างไร?) บนสายสัญญาณ

ผลิตภัณฑ์ ADSL ได้ถูกผลิตขึ้นให้ใช้วิธีการของ Line Coding (วิธีการเข้ารหัสเพื่อการส่งสัญญาณในสาย) ซึ่งวิธีการของ Line Coding นี้มีอยู่ 2 แบบ ได้แก่ Carrier Amplitude/Phase Modulation (CAP) Quadrature Amplitude Modulation (QAM) และเทคโนโลยี Discrete Multitone (DMT)

ไม่ว่า ระบบ Line Coding จะเป็นเช่นใด ไม่ว่าสายสัญญาณทั้งสองเส้นจะถูกนำมาใช้เพื่อการรับส่งข้อมูลแบบ Full Duplex (การรับส่งข้อมูลแบบสวนทางกันไปกลับระหว่างผู้รับกับผู้ส่ง) ก็ตาม หรือพิสัยของคลื่นความถี่จะถูกแบ่ง Upstream หรือ Downstream Bandwidth (ระบบ FDM แบบง่าย) อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือจะต้องใช้ Echo Cancellation ก็ตาม (Echo Cancellation เป็นการขจัดความเป็นไปได้ของสัญญาณในทิศทางใดทิศทางหนึ่งที่เป็นสัญญาณของผู้พูด จะเกิดการสะท้อนกลับมาที่ผู้พูดเอง เหมือนท่านที่พูดโทรศัพท์มือถือ จะได้ยินเสียงพูดของตนเอง)

ภายใต้เครือข่าย ADSL นี้ ระบบ FDM กับ Echo Cancellation สามารถทำงานร่วมกันแบบผสมผสานกันได้ (เหตุผลที่ต้องใช้ระบบ FDM ก็เนื่องจากใช้เพื่อแยกช่องสัญญาณ จากนั้นก็ทำการสลับสัญญาณ ซึ่งเหตุที่ต้องสลับสัญญาณก็เนื่องจากใช้งาน สายโทรศัพท์เส้นเดียวกัน) ในหลายกรณี มาตรฐาน ANSI ภายใต้เอกสาร T.413 ได้กำหนดให้ ADSL ใช้ Line Coding แบบเทคโนโลยี DMT และมีการเลือกใช้ FDM หรือ Echo Cancellation อย่างใดอย่างหนึ่งแทนที่จะทำงานร่วมกัน เพื่อที่ให้ได้การทำงานแบบ Full Duplex

FDM เป็นวิธีการที่ง่ายต่อการใช้งาน ส่วน Echo Cancellation นั้น อาจเกิดปัญหา Near End Cross Talk (สัญญาณรบกวนที่อยู่ปลายด้านหนึ่งของสายสัญญาณ โดยอยู่ด้านตรงข้ามของผู้ส่ง)

FDM สามารถหลีกเลี่ยงปัญหา Near End Cross Talk ได้ โดยการทำให้เครื่องรับเพิกเฉยต่อย่านความถี่ที่เครื่องส่งได้ส่ง Near End Cross Talk ออกมา ซึ่งก็แน่นอนที่ FDM สามารถตัดทอนจำนวนของ Bandwidth ที่มีอยู่ในแต่ละทิศทาง เมื่อเป็นเช่นนี้ Echo Cancellation สามารถใช้ประโยชน์ของ Bandwidth ได้อย่างเต็มที่ แต่จะมีความซับซ้อนในการทำงานมากกว่า นอกจากนี้ Echo Cancellation สามารถใช้ความถี่ต่ำได้มากที่สุด ทำให้มีประสิทธิภาพการทำงานสูงสุด
สรุปส่วนประกอบของระบบ ADSL
ADSL มีส่วนประกอบที่ใช้ทำงานดังต่อไปนี้
  • ADSL Transceiver Unit Central Office (ATU-C) เป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งในศูนย์ให้บริการ ADSL ใช้เพื่อรับส่งข้อมูลระหว่าง ผู้ใช้บริการผ่านศูนย์ อุปกรณ์นี้ อาจเป็น Splitter ที่เชื่อมต่อเข้ากับ DSLAM
  • ADSL Transceiver Unit Remote Office (ATU-R) หรือที่เรียกว่า ADSL Modem
  • Splitter - เป็น Filter แบบ Low Pass Filter เพื่อใช้แยกสัญญาณ POT (Plain Old Telephone - ระบบโทรศัพท์ทั่วไป) จาก ADSL
  • Digital Subscriber Line Access Multiplexer (DSLAM) - สามารถทำการ Multiplex สัญญาณที่เข้ามาทางสายทองแดง เข้าเป็น 1 ATM Mode Fiber รวมทั้งยังมี ATU-C ใน Frame เดียวกัน (ดูรูปที่ 10)
รูปที่ 10 แสดง ADSL Loop Architecture

รู้จักกับ Line Code ของ ADSL 
ADSL ใช้ Line Code 2 แบบ ซึ่ง Line Code ในที่นี้ หมายถึง การกำหนดวิธีการส่งข้อมูล Bit 0 กับ Bit 1 บนสายสัญญาณ หากไม่ใช้ Line Code การส่งข้อมูลบนสายสัญญาณจะเกิดขึ้นไม่ได้ ซึ่ง ADSL มี Line Code อยู่ 2 แบบ ได้แก่ DMT กับ CAP (ท่านที่ซื้อ ADSL Modem จะเห็นประเภทของ Line Code กำกับอยู่ข้างกล่องเสมอ)

CAP (Carrierless Amplitude/Phase Modulation)
Phase Modulation เสียก่อน ซึ่งหลักการผสมสัญญาณของ QAM มีดังนี้
QAM เป็นการผสมสัญญาณที่ใช้ทั้งการเปลี่ยนเฟส และขนาดของสัญญาณควบคู่กันไป เป็นเทคนิคสำหรับใช้กับ Modem ความเร็วสูง ซึ่งถ้าใช้การเปลี่ยนเฟสเพียงอย่างเดียว มุมที่เปลี่ยนแปลงจะมีค่าน้อยเกินไปจะทำให้วงจรเกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย แต่ถ้าเราใช้การเปลี่ยนเฟส และขนาดของสัญญาณประกอบเข้าด้วยกัน
ก็จะช่วยให้วงจรฝ่ายผู้รับสามารถแยกความแตกต่างระหว่างสัญญาณของข้อมูลค่าต่างๆกันได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งปกติที่มีใช้กันอยู่จะมีเฟสต่างกัน 8 เฟส และขนาดของสัญญาณต่างกัน 4 ระดับ ใช้แทนข้อมูล 16 สถานะ ซึ่งในหนึ่งลูกคลื่นจะสามารถส่งข้อมูลได้คราวละ 4 บิต

การผสมสัญญาณของ QAM บางแบบจะใช้เฟส ต่างไปจากนี้ เช่นใช้เฟสต่างกัน 12 เฟส และขนาดของสัญญาณ 3 ระดับ หรืออาจใช้เฟสต่างกัน 8 เฟส และขนาดของสัญญาณต่างกัน 2 ระดับก็ได้ ขึ้นอยู่กับการออกแบบ แต่ว่าในมาตรฐานเดียวกัน Modem จะต้องใช้การแบ่งเฟส และระดับสัญญาณเท่ากันเสมอ และความเร็วในการรับส่งข้อมูลของ QAM อยู่ที่ 9600 บิตต่อวินาที โดยใช้ความถี่พาหะ 2400 Hz และในหนึ่งลูกคลื่นจะแทนข้อมูลได้คราวละ 4 บิต

CAP ใช้วิธีการเดียวกับ QAM คือมีการใช้ ระบบ การผสมสัญญาณเชิง Amplitude แบบหลายระดับ (Multi-Level Amplitude Modulation ( 1 Pulse จะมีค่าระดับแรงดันหลายระดับ) กับ Phase Modulation

CAP จะแบ่งสายโทรศัพท์ออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ส่วนของการส่งสัญญาณเสียง ส่วนของการส่งข้อมูลแบบ Upstream และส่วนของการส่งข้อมูลแบบ Downstream ทำให้สายโทรศัพท์เพียงเส้นเดียวสามารถ รับส่งสัญญาณเสียงและข้อมูลได้ในเวลาเดียวกันได้

CAP มีการใช้ Bandwidth ทั้งหมดของ Local Loop (ยกเว้นสัญญาณ Analog ขนาด 4Khz) ความแตกต่างระหว่าง CAP กับ QAM อยู่ที่การนำมาใช้งาน โดยที่ QAM นั้นมีการรวมเอาสัญญาณ Analog 2 สัญญาณ เข้าด้วยกัน เนื่องจากว่า สัญญาณคลื่นพา (Carrier) ไม่ใช่สัญญาณที่ใช้นำพาข้อมูล ดังนั้นการประยุกต์ใช้งาน CAP ก็ใช่ว่าจะมีการนำส่งข้อมูลไปเสียทั้งหมด การผสมสัญญาณในระบบ CAP เป็นการผสมสัญญาณในระบบ ดิจิตอล โดยใช้ ตัวกรองสัญญาณหรือ Filter แบบ ดิจิตอล 2 ชุด ที่มีลักษณะและขนาดของ Amplitude ที่เท่ากัน แต่ต่างกันที่ การตอบสนองทางเฟส (ซึ่ง Filter แบบนี้รู้จักกันในนามของ Hibert Pair)

Modem ที่มีการผสมสัญญาณ (Modulation) แบบ CAP สามารถยอมรับ การสื่อสารข้อมูลในระบบ ATM หรือแบบ Packet รวมทั้ง การรับส่งข้อมูลแบบ Synchronous Bit ได้อีกด้วย

CAP ได้นิยามมาตรฐานการทำงานของการสื่อสารข้อมูล 2 แบบๆแรก ได้แก่ Class A ซึ่งสามารถขนถ่ายข้อมูลแบบ Packet หรือเป็นแบบ เซลล์ (Cell) ได้ ซึ่งช่องสัญญาณนี้ไม่ค่อยอ่อนไหวในเรื่องของ Delay มากนัก ส่วนแบบที่ 2 เรียกว่า Class B Service ซึ่งเป็นช่องสัญญาณที่ใช้ขนถ่ายข้อมูลที่ค่อนข้างเปราะบางต่อปัญหา Delay โดยช่องสัญญาณนี้ ถูกออกแบบมาเพื่อขนถ่ายข้อมูลแบบ Bit Synchronous ตัวอย่าง เช่น สัญญาณ ISDN ที่ความเร็ว 160 kbps เป็นต้น ซึ่ง Class B นี้จะกำหนดให้ระบบ FEC (Forward Error Correction) เป็นเพียง Option เท่านั้น และช่องสัญญาณข้อมูลทั้งสองเมื่อรวมเข้ากับ EOC หรือ Embedded Operations Channel (EOC มีไว้เพื่อการเฝ้าดูและหาจุดเสียปัญหาของ ADSL Modem) แล้ว จากนั้นก็ป้อนเข้าสู่ ADSL Modem ดังรูปที่ 11

รูปที่ 11 แสดงชนิดของข้อมูลที่สามารถใช้กับการผสมสัญญาณแบบ CAP

คุณประโยชน์ ที่เหนือกว่า QAM ตรงที่ CAP เป็นระบบ ดิจิตอล แทนที่จะเป็นการผสมสัญญาณแบบ Analog (เหมือนอย่าง QAM) ผลก็คือการประหยัดค่าใช้จ่าย

CAP ให้คุณประโยชน์ดังนี้
  • เป็นเทคโนโลยีเก่าที่วิวัฒนาการมาจาก V.34 Modem เนื่องจาก CAP ทำงานบนพื้นฐานโดยตรงของ QAM จึงเป็นเทคโนโลยีที่เข้าใจง่าย และเนื่องจากไม่ต้องใช้ช่องสัญญาณย่อย ดังนั้นจึงใช้งานเรียบง่ายกว่าระบบ DMT
  • Modem ที่เป็นระบบ CAP สามารถรองรับ ATM Cell หรือ Traffic แบบ Bit Synchronization
  • Traffic ที่ทำงานในระบบ CAP มีอยู่ 2 แบบได้แก่การให้บริการใน Class A ที่สามารถขนถ่ายสัมภาระอันเป็นข้อมูลประเภท Packet หรือในรูปแบบของ Cell ซึ่งช่องทางของสัญญาณเหล่านี้ ไม่ค่อยจะอ่อนไหวกับปัญหา Delay เท่าใดนัก ประการที่ 2 ได้แก่ การให้บริการ Class B ที่ถูกออกแบบมาให้ทำงานบน ช่องสัญญาณที่อ่อนไหวต่อปัญหา Delay ซึ่งช่องสัญญาณนี้จะถูกนำมาใช้กับการรับส่งข้อมูลในรูปแบบ Bit Synchronous (การรับส่งข้อมูลที่มีการควบคุมจังหวะการเคลื่อนที่ของบิต) 
หลักการทำงานของ DMT
สำหรับระบบ DMT นั้น สายทองแดงคู่จะสามารถรองรับ Bandwidth ขนาด 1 MHz ที่อาจถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยส่วนที่ 1 สำหรับช่องสัญญาณเสียง กับอีกส่วนหนึ่งสำหรับเป็นช่องสัญญาณข้อมูล ซึ่งในที่นี้ DMT ได้กำหนดให้มีมากถึง 256 ช่องสัญญาณ

เมื่อใดที่เราใช้โทรศัพท์ เสียงจะถูกส่งผ่านไปทางช่องสัญญาณเสียงที่มีความถี่ต่ำกว่า 4 kHz ขณะที่ ADSL จะใช้ช่วงสัญญาณที่สูงกว่า ทำให้ข้อมูลคอมพิวเตอร์สามารถอยู่แยกออกต่างหาก จากข้อมูลเสียง

ข้อมูลที่ส่งจากคอมพิวเตอร์ ไปยัง อินเทอร์เน็ต จะใช้ช่องสัญญาณหลายๆช่องสัญญาณรวมกัน เพื่อให้ได้อัตราการรับส่งข้อมูลที่ดีที่สุด ขณะที่สัญญาณที่ส่งมาจากอินเทอร์เน็ตไปยังคอมพิวเตอร์ จะใช้ช่องสัญญาณอีกกลุ่ม ทำให้สามารถคุยโทรศัพท์ในขณะที่ยังสามารถ Download Files ได้โดยไม่ทำให้อัตราความเร็วของการ Download นั้นลดลงแต่อย่างใด

แนวคิดพื้นฐานของ ได้แก่การแยก Bandwidth ที่มีอยู่ให้เป็นช่องสัญญาณย่อยๆเป็นจำนวนมาก และสามารถทำงานได้โดยไม่กวนกัน ดังนั้น ในแต่ละช่องสัญญาณย่อย สามารถมีประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด และถ้าหากว่าช่องสัญญาณย่อยใด ไม่มีการส่งข้อมูลใดๆ ก็สามารถปิดทิ้งเมื่อใดก็ได้

ADSL Modem ที่ทำงานบนพื้นฐานของ DMT เราสามารถมองเป็นว่า ภายในประกอบไปด้วย Modem ขนาดจิ๋วจำนวน 256 ตัว แต่ละตัวมีความถี่ช่องสัญญาณที่ 4 KHz ซึ่งทำงานพร้อมกันในเวลาเดียว โดยระบบ DMT จะใช้คลื่นพาหลายตัวที่สร้าง ช่องสัญญาณย่อยเหล่านี้ขึ้นมา ซึ่งช่องสัญญาณย่อยเหล่านี้ จะเป็นผู้นำพาข้อมูลข่าวสารที่มีขนาดคิดเป็น เศษเสี้ยวของข้อมูลข่าวสารทั้งหมด ช่องสัญญาณเหล่านี้ จะมีการผสมสัญญาณเองโดยอิสระ ด้วยความถี่ที่ใช้ผสมสัญญาณ ซึ่งสอดคล้องกับ ความถี่กลางของช่องสัญญาณย่อยๆ โดยกระบวนการที่เกิดขึ้นนี้เป็นแบบขนานกัน

ช่องสัญญาณย่อยแต่ละช่องนี้ จะทำการผสมสัญญาณโดยใช้วิธีการแบบ QAM และสามารถนำพาข้อมูล 0-15 บิต ต่อ 1 สัญญาลักษณ์ ต่อ 1 Hz โดยจำนวนของบิตที่สามารถขนส่งได้อย่างแท้จริง ขึ้นอยู่กับลักษณะพิเศษของสายสัญญาณ และบางช่องสัญญาณย่อยอาจสามารถถูกละทิ้ง หากมีสัญญาณรบกวนเกิดขึ้นจากภายนอก ตัวอย่างเช่นสถานีวิทยุ AM อาจสร้างสัญญาณรบกวนเกิดขึ้นที่บางช่องสัญญาณย่อย ทำให้ใช้งานไม่ได้ เป็นต้น (ดูรูปที่ 12)
รูปที่ 12 แสดงขนาด Bandwidth โดยทฤษฎีสำหรับ DMT เมื่อ ทำงานที่ Upstream คือ 25 ช่องสัญญาณ คูณด้วย 15 บิต ต่อ 1 สัญญาลักษณ์ ต่อ 1 Hz ต่อ 1 ช่องสัญญาณ คูณด้วย 4KHz = 1.5 Mbps
ขนาด Bandwidth ในทางทฤษฎีสำหรับ Downstream คือ 249 ช่องสัญญาณคูณด้วย 15 บิต ต่อหนึ่งสัญญาลักษณ์ ต่อหนึ่ง Hz ต่อ 1 ช่องสัญญาณคูณด้วย 4 KHz = 14.9 Mbps

ข้อดีของการใช้ Line Code แบบ DMT ได้แก่
  • การวิวัฒนาการมาจาก เทคโนโลยีของ Modem V.34 ซึ่งเทคโนโลยี Modem แบบนี้ มีข้อดีตรงที่สามารถรับส่งข้อมูลได้เต็มที่ เนื่องจากสามารถพิชิตปัญหาสัญญาณรบกวน
  • DMT Modem ใช้ เทคนิคการผสมสัญญาณแบบ QAM สำหรับช่องสัญญาณย่อยที่มีอยู่ รวมทั้ง Echo Cancellation การใช้ Trellis Coding แบบทวีมิติ
  • ประสิทธิภาพ DMT สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของ Modem เนื่องจาก ช่องสัญญาณย่อยๆต่างๆที่มีอยู่ สามารถจัดการกันเองได้โดยอิสระ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของสายสัญญาณ DMT มีการตรวจวัด ค่า S/N Ratio ของแต่ละช่องสัญญาณย่อยเหล่านี้โดยอิสระ จากนั้นก็จะ มอบหมาย จำนวนของบิตข้อมูลให้กับช่องสัญญาณย่อยๆที่เห็นว่าขณะนั้น มีสัญญาณรบกวนน้อย โดยช่องที่มีสัญญาณรบกวนน้อยที่สุด จะได้บิตข้อมูลเพื่อใช้ในการส่งมากที่สุด
ตารางที่ 2 แสดงช่องสัญญาณย่อยและอัตราความเร็วในการขนถ่ายข้อมูล
ช่องสัญญาณย่อย
Largest Multiple (x32 kbps)อัตราความเร็วข้อมูลสูงสุด
AS01926144
AS11444608
AS2963072
AS3481536
LS020640
LS120640
LS220640

การใช้งาน CAP และ DMT 
แม้ว่าวิธีการเข้ารหัสทั้งสองแบบต่างก็มีข้อดีด้วยกันทั้งคู่ก็จริง แต่ความสำเร็จหรือล้มเหลวของหลักการทั้งสอง อยู่ที่การนำไปใช้งานจริง ซึ่งปัจจัยแห่งความสำเร็จหรือล้มเหลวดังกล่าว อยู่ที่ ขนาดและจำนวนของประชากรผู้ใช้ รวมทั้งระยะทางและ Bandwidth เลขที่สวยหรู(ที่เป็นไปได้) คือความเร็ว Downstream ขนาด 8 Mbps โดยมี 1 Mbps เป็น Upstream ซึ่งเป็นอัตราความเร็วสูงสุด ขณะที่ ผู้ให้บริการ ADSL ในปัจจุบัน สามารถให้บริการที่ความเร็วตั้งแต่ 128 Kbps ไปจนถึง 7 Mbps ต่อไปนี้ เป็นตารางเปรียบเทียบ การทำงานของ CAP และ DMT รวมทั้ง G.lite

GPRS

GPRS (General Packet Radio Service)
นี้ไม่ใช่สิ่งใหม่แต่ประการใดในแวดวงโทรคมนาคม ซึ่งจะจัดให้มันอยู่ในเจนเนอเรชั่นที่ 2.5 G สำหรับเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือ (โดย 1 G หมายถือโทรศัพท์มือถือระบบอนาล็อก, 2 G หมายถึง โทรศัพท์มือถือดิจิตอลปัจจุบันที่เราใช้อยู่)
GPRS นั้นถือว่าเป็นบริการใหม่ที่ล้ำสมัยของโทรศัพท์มือถือที่ไม่จำกัดตัวเอ อยู่แค่การใช้เสียงเท่านั้น โดยมันมีความสามารถในการส่งข้อมูลผ่านทางโทรศัพท์มือถือได้ด้วยความเร็วในระดับ 172 Kbps (ขณะที่โทรศัพท์มือถือดิจิตอลธรรมดาส่งได้ด้วยความเร็ว 9.6 Kbps) ซึ่งความเร็วที่สูงระดับนี้สามารถรองรับกับ การใช้งานอินเตอร์เน็ตอย่างง่ายๆ ได้อย่างไม่มีปัญหา และอีกไม่นานเราคงจะได้เห็นการใช้งานอินเตอร์เน็ตแบบย่อ ในมือคุณไม่ว่าจะเป็นการ Chat, Web, Browsing, FTP หรือ E-mail
GPRS ได้ถูกกำหนดเป็นมาตรฐาน และมีกำหนดการที่จะออกใช้งานทั่วโลก โดยเริ่มมีการวางระบบเพื่อรองรับการใช้งานงานตั้งแต่ปี 2000 โดยปี 2001 นั้นจะเริ่มทดสอบให้บริการที่ความเร็ว 56 Kbps และ 112 Kbps ก่อน โดยทั้งหมดจะทำงานอยู่บนเครือข่ายโทรศัพท์ GSM เดิม (แต่ตัวเครื่องโทรศัพท์ GSM เดิม จะไม่สามารถใช้งานกับ GPRS ได้) จากนั้นในปี 2002 จะเข้าสู่ยุคของ 3G เสียที

GPRS คืออะไร?
- เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นบนเครือข่ายเดิมเพื่อให้การส่งข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็ว และสะดวกยิ่งขึ้น
- เทคโนโลยีการส่งข้อมูลแบบรวดเร็ว ซึ่งใช้ได้กับเครือข่ายระบบ GSM ช่วยเพิ่มความรวดเร็วให้กับการติดตั้ง และทำให้ระยะเวลาในการส่งข้อมูลรวดเร็วยิ่งขึ้น
- เทคโนโลยีที่สร้างขึ้นมาเพื่อการใช้ Mobile Internet ด้วยความสะดวกยิ่งขึ้น ทำให้ท่านสามารถทำธุรกรรมต่างๆ ได้อย่างสะดวก และง่ายดายผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่
- นวัตกรรมใหม่ที่ทำให้การส่งข้อมูลมีประสิทธิภาพด้วยความเร็วจากเดิมเพียงแค่ 9.6 Kbps เป็น 40 Kbps ช่วยให้ท่านสามารถเชื่อมต่อทางอินเตอร์เน็ตได้ภายในเวลาอันสั้น ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน เมื่อไหร่
- การส่งข้อมูลแบบใหม่ในรูปแบบของมัลติมีเดีย ซึ่งจะประกอบไปด้วยรูปภาพที่เป็นกราฟฟิก เสียงและวิดีโอ เช่นการใช้ Video Conference
ทำไมต้อง GPRS?
- เพราะ GPRS ช่วยให้ส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว แม้ในช่วงเวลาที่มีการใช้อินเตอร์เน็ตมาก
- เพราะ GPRS ทำให้ท่านเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้อย่างง่ายดาย ไม่ว่าคุณอยู่ที่ใด และช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย
- เพราะ GPRS ช่วยให้ท่านไม่ขาดการติดต่อ ท่านสามารถรับส่งเมล์ได้อย่างรวดเร็ว หรือแม้กระทั่งเล่น ICQ
การพัฒนาเทคโนโลยี
หลังจากที่วงการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้มีการพัฒนาด้านการสื่อสารข้อมูลผ่านโทรศัพท์มือถือและ None Voice Application อย่างต่อเนื่องเพื่อให้สามารถสื่อสารได้ทุกรูปแบบอย่างไร้ขีดจำกัดในระหว่างเคลื่อนที่ ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารด้วยเสียงหรือข้อมูล ดั้งนั้นผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่จึงได้พัฒนาและนำเทคโนโลยีอย่างที่เห็นกันทุกวันนี้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน เช่น
1. Short Message Service (SMS)
- การใช้เทคโนโลยี SMS หรือการส่งข้อความที่กำลังได้รับความนิยมกันทั่วไปมากขึ้นทุกวันในบ้านเราขณะนี้
- Sim Tool Kit โดยใช้ Sim Card ที่ทางผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้พัฒนาและเพิ่มเติมบริการไว้ให้ใช้งานและบริการต่าง ๆ ง่ายมากยิ่งขึ้น
2. Circuit Switched Data (CSD)
- WAP หรือ Wireless Application Protocol ที่สามารถ Connect กับโลกของข่าวสารข้อมูลกับ Wap Site ต่าง ๆ ได้ทั่วโลกแม้กระทั้งในรูปแบบของ Wireless Internet
แต่อย่างไรก็ตามทางผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ก็ยังเล็งเห็นว่า การโอนถ่ายสื่อสารข้อมูลของโทรศัพท์มือถือเคลื่อนที่ยังมีข้อจำกัดในด้านความเร็วการรับส่ง และรวมไปถึงปริมาณข้อมูลที่สามารถทำ การรับจึงได้เริ่มพัฒนาแก้ไขเพื่อที่จะเพิ่มเติมบริการตรงส่วนบกพร่องนี้ให้ดีขึ้น จึงได้เริ่มนำเทคโนโลยีที่เรียกว่า GPRS (General Packet Radio Service)
GPRS เป็นตัวย่อจากภาษาอังกฤษ" General Packet Radio Service"ซึ่งเป็นการส่งข้อมูลต่างๆในรูปแบบแพ็กเก็ตต่าง ๆ
การเชื่อมต่อแบบใหม่ที่ใช้ระบบGPRSเข้ามาก็จะเป็นการเชื่อมต่อ และวิธีการส่งข้อมูลที่มีลักษณะเช่นเดียวกับอินเตอร์เน็ตก็คือ เมื่อต้องการข้อมูลหรือส่งข้อมูลอะไรก็แล้วแต่ ก็จะเป็นการส่งข้อมูลลักษณะนั้น เข้าไปในเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่เท่านั้น ไม่จำเป็นต้องจองเวลาไว้ตลอดเวลา จึงทำให้วิธีการใช้งานของ GPRS ในแบบใหม่นี้จะเห็นได้ว่าจะมีการพูดถึง การเก็บเงินที่เป็นจำนวนข้อมูลที่รับ และส่งออกมา มากกว่าวิธีการติดต่อสื่อสารจากวิธีเดิมที่คิดจำนวนเวลาในการติดต่อสื่อสารแต่ละครั้ง
การติดต่อด้วยระบบ GPRS ยังสามารถติดต่อสื่อสารด้วยเสียง ในขณะที่เราสามารถติดต่อสื่อสารผ่านโลกอินเตอร์เน็ตในขณะเดียวกัน ซึ่งก็คือ เราสามารถติดต่อสื่อสารทั้ง 2 ระบบ ภายในช่วงเวลาเดียวกัน แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับโทรศัพท์เคลื่อนที่ในแต่ละรุ่นที่ผลิตออกมา แต่เท่าที่ทราบในขณะนี้โทรศัพท์เคลื่อนที่แต่ละรุ่นยังไม่สามารถติดต่อสื่อสารพร้อม ๆ กันได้
GPRS เชื่อมโลกอินเตอร์เน็ต บนโทรศัพท์เคลื่อนที่
GPRS ไม่ได้เป็นลักษณะที่จะสามารถให้บริการได้ด้วยตัวของระบบเอง แต่ตัวมันเองเป็นเพียงแค่ Bearer ให้กับ Application ต่าง ๆ ที่ต้องการใช้ความเร็วที่เพิ่มมากกว่าปกติในระบบ GSM ที่เคยรองรับอยู่เดิมมาก่อน และระบบ GPRS จะต้องต่อไปยัง Packet Data Network ที่เป็น IP Network อีกต่อหนึ่ง
ดังนั้นผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่จะเปิดใช้ในระบบ GPRS ได้นั้นจะต้องทำการติดตั้งระบบเครือข่าย ที่ประกอบด้วยหน่วย
หลัก ๆ 2 หน่วยด้วยกัน คือ
1. SGSN (Serving GPRS Supports Node)
2. GGSN (Gateway GPRS Supports Node)
โดยทั้งสองหน่วยหลักขององค์ประกอบนี้จะถูกเชื่อมต่อเข้าด้วยกันโดยมีอุปกรณ์อื่น ๆ เป็นตัวช่วยเพื่อไปร่วมใช้ Radio Interface จาก Base Station โดยผ่านตัวควบคุม ที่เรียกว่า PCU (Packet Control Unit) ที่ติดตั้งไว้ที่ BSC(Base Station Controller) อันทั้งนี้อาจมองNetwork เป็นอีก Network หนึ่ง ซึ่งเข้ากับ Mobile Phoneผ่านทาง Radio Interface ของระบบ GSM Network เดิมโดยเป็นบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการรับส่งข้อมูลเป็น Packetโดยตรง
คุณสมบัติเด่นหลัก ๆ ของระบบ GPRS คือ
  1. การโอนถ่ายข้อมูลที่มีความสามารถในการ รับ- ส่งผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้สูงถึง 9 - 40 kbps ซึ่งจะทำให้สามารถรับ- ส่งข้อมูลที่เป็น VDO Mail หรือ ภาพเคลื่อนไหวต่าง ๆได้ พร้อมทั้งเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้เร็ว และมีประสิทธภาพมากกว่าเดิมรวมถึงการ Down lode/Up lode ได้ง่ายยิ่งขึ้น
  2. Always On การเชื่อมต่อเครือข่ายและโอนถ่ายข้อมูลสามารถดำเนินต่อไป แม้ในขณะที่มีสายติดต่อเข้ามาก็ตาม จึงทำให้การโอนถ่ายข้อมูลไม่ขาดตอนลง
  3. Wireless Internet ที่เชื่อมต่อเข้ากับ Terminal เช่น PDA หรือ Note Book สามารถที่จะโอนถ่ายข้อมูลได้เร็วขึ้นจากที่เคยเป็นอยู่
ประโยชน์ของ GPRS
  • ประหยัดค่าใช้จ่าย - เทคโนโลยี GPRS จะทำให้การคิดอัตราค่าบริการในการใช้อินเตอร์เน็ต ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาในการรับ และส่งข้อมูล ไม่ใช่ช่วงเวลาในการเชื่อมต่อ ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้ จ่ายเพียงแค่อัตราค่าบริการในการดาวน์โหลด และอัพโหลดเท่านั้น
  • รวดเร็วยิ่งขึ้น - GPRS จะช่วยให้ท่านเชื่อมต่อ และรับข้อมูลจ่าง ๆ ผ่านอินเตอร์เน็ตด้วยระยะเวลาที่รวดเร็วกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบ GSM ทั่วไป ทำให้การเข้าสู่ web หรือการรับส่งe-mail เป็นไปอย่างสะดวก และง่ายดาย
  • คุ้มค่า - เพราะมีค่าใช้จ่ายน้อย แต่รับผลตอบแทนจากการรับ-ส่งข้อมูลอย่างมากมาย
  • น่าใช้ - GPRS ทำให้ท่านได้รับข้อมูลในทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบข้อความ หรือรูปแบบมัลติมีเดีย ซึ่งประกอบไปด้วยรูปภาพ เสียง และวีดิโอ ทำให้การติดต่อสื่อสารของคุณผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ไม่ซ้ำซากอีกต่อไป
GPRS ดีกว่าระบบ GSM เดิมอย่างไร?
ความเร็วที่เพิ่มขึ้น จาก 9.6 Kbps เป็น40 Kbps
สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา (Always On) โดยไม่เสียค่าบริการ และยังสามารถโทรออก และรับสายโทรเข้าได้ ในขณะที่คุณเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอยู่
เสียค่าบริการจากจำนวนข้อมูลที่เราทำการรับ หรือส่ง (Download หรือ Upload) เท่านั้น
สามารถรับข้อมูลในรูปแบบของ Multimedia ได้ เช่นการชม Video Clip ผ่านทางอุปกรณ์ PDA ได้
บริการในระบบ GPRS
ด้วยโทรศัพท์มือถือในระบบ GPRS คุณสามารถเข้าสู่บริการ non voice ที่หลากหลายจาก mobileLIFE โดยบริการใหม่ล่าสุดคือบริการ mClose2me, mDiscount, และ Advanced Mail จาก mMail นอกจากนี้คุณยังสามารถใช้บริการอื่นๆที่มีอยู่เดิม เช่น mInfo, mEntertain, mBanking, mMail, mChat, mShopping และ mMessaging ด้วยความเร็วที่สูงขึ้นได้อีกด้วย
มากไปกว่านั้นคือถ้าคุณใช้โทรศัพท์มือถือระบบ GPRS ต่อเชื่อมเข้ากับ PDA หรือ Computer Notebook ของคุณ คุณจะสามารถ Browse สู่โลกอินเตอร์เน็ตอย่างง่ายดายทุกที่ ทุกเวลา และคุณยังสามารถรับข้อมูล ข่าวสารในรูปแบบของ Video ไม่ว่าจะเป็นรายการกีฬา, ละคร, ข่าว, และ ข้อมูลสภาพการจราจร ที่จะทำให้ชีวิตของคุณ ต่อติดกับโลกที่เปลี่ยนแปลง ไปอย่างรวดเร็วอยู่เสมอ
รูปแบบการให้บริการของ GPRS
  • Textual And Visual Information บริการนี้เป็นจุดแตกต่างอย่างแรกที่ GPRS เหนือกว่า GSM ทั่วไป โดยสามารถส่งข้อมูลที่เป็นตัวอักษร หรือรูปภาพกราฟิกไปยังโทรศัพท์มือถือได้อย่างสะดวกรวดเร็วซึ่งจะทำให้ GPRS แทรกซึมเข้าสู่การใช้งานของคนทั่วไป ได้ทั้งข่าวความเคลื่อนไหว, ข้อมูลที่คนส่วนใหญ่สนใจ รวมทั้งบริการต่างๆ ที่จะเสริมเข้ามาในอนาคต
  • Still Images เป็นการส่งภาพนิ่งความละเอียดสูงไปมาระหว่างเครื่องด้วยกันได้ ทำให้สามารถส่งผ่านความรู้สึกดีๆ ผ่านภาพถ่าย หรือการ์ดอวยพรได้เลย รวมทั้งภาพที่ถ่ายได้จากกล้องดิจิตอล ก็สามารถโอนแล้วส่งต่อไปได้ทันที
  • Moving Images นอกเหนือจากภาพนิ่งแล้วภาพเคลื่อนไหวก็สามารถส่งต่อกันไปได้เช่นกัน เช่น การประชุมทางไกล หรือ การส่งภาพจากกล้องวงจรปิดไปยังโทรศัพท์มือถือในกรณีประยุกต์ใช้กับระบบรักษาความปลอดภัย
  • Chat เป็นคุณสมบัติที่คงจะถูกใจของผู้รักการคุยแบบไม่ใช้เสียง ซึ่งสามารถสนทนากันได้ทั้งแบบเป็นคู่ หรือเป็นกลุ่มได้อย่างสบายใจ ซึ่งจุดเด่นที่สำหรับ สามารถ Chat ได้ทุกที่ที่อยากจะ Chat
  • Web Browsing เป็นการเข้าสู่ World Wide Web ด้วยการใช้โทรศัพท์มือถือ ซึ่งความเร็วมีให้เลือกตั้งแต่ 56 Kbps ไปจนถึง 112 Kbps การท่องเว็บจึงไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แม้รูปแบบการแสดงผลจะแตกต่างจากการท่องเว็บโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์อยู่บ้าง
  • E-Mail เป็นบริการพื้นฐานที่มีคนนิยมใช้งานมากที่สุดสำหรับการส่งข้อความ โดยจะมีการใช้ในรูปของ SMS (Short Message Service) ที่เราคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว
  • File Transfer เป็นบริการโอนถ่ายไฟล์ข้อมูลซึ่งน่าจะใช้งานกันอย่างแพร่หลายขึ้น GPRS เพราะความเร็วดูจะเหนือกว่าการใช้งานผ่านโมเด็มกับโทรศัพท์พื้นฐานที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันมาก โดยจะรองรับกับโปรโตคอล FTP และแอพพลิเคชั่นที่อ่านข้อความอย่าง Acrobat Reader
  • Audio แน่นอนว่าโทรศัพท์ต้องมีเสียง แต่บริการด้านเสียงของ GPRS จะเหนือกว่าโทรศัพท์มือถือเดิม ๆ ที่เรารู้จัก เนื่องจากความคมชัดของสัญญาณเสียงที่เหนือกว่า และยังประยุกต์ใช้ในการเก็บไฟล์เสียงเพื่อนำไปใช้งานในด้านต่างๆ ด้วย เช่น การวิเคราะห็รายละเอียดของเสียงในงานของตำรวจ เป็นต้น
  • Remote LAN Access เราสามารถเข้าถึงเครือข่ายความพิวเตอร์ โดยใช้โทรศัพท์มือถือแทนเบอร์โทรศัพท์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่บ้านได้อย่างง่ายดาย ซึ่งความเร็วในการส่งถ่ายข้อมูลจะเหนือกว่าโทรศัพท์พิ้นฐานทั่วไป
  • Vehicle Positioning เป็นความสามารถในการบอกตำแหน่งของยานพาหนะที่เราใช้อยู่ โดยจะสามารถเชื่อมต่อกับดาวเทียม ซึ่งจะสามารถบอกตำแหน่งที่เราอยู่โดยอ้างอิงกับ เครื่องโทรศัพท์มือถือได้อย่างแม่นยำ

ก่อนถูกเรียกว่า Memory

แปลกจริงหนอ จากทรายที่เห็นกันอยู่เต็มชายหาดได้ถูกนำมาทำเป็น Memory ได้ เนื่องจากในทราย นั้นมี Silicon ซึ่งเป็นองค์ประกอบพื้นฐานในการผลิตอุปกรณ์จำพวก สารกึ่งตัวนำ (Semiconductors) หลังจากที่ Silicon ผ่านขบวนการผลิตแล้วจะถูกบรรจุลงใน Silicon Wafer จากนั้นนำ Wafer ต่อเชื่อมเข้าด้วยกันจนเป็นระบบเรียกว่า Chip หรือ IC (Integrated Circuit) นำ Chip เหล่านั้นเชื่อมกับวงแผงวงจร PCB ทำการทดสอบ แล้วแผงวงจรด้วยพลาสติกหรือ เซรามิก

Memory มีหลากหลายขนาดและรูปร่าง แต่โดยทั่วไปที่เห็นจะมีลักษณะเป็นแท่ง แบน และประกอบด้วยวัตถุสีเหลี่ยมสีดำ ว่างเรียงตัวไปในแนวเดียวกัน ซึ่งส่วนประกอบเหล่านั้นจะเป็นส่วนที่จะนำเสนอต่อไป
PCB (Printed Circuit Board)
เป็นแผงวงจรที่รวม Memory chip มาไว้รวมกัน สำหรับแผงวงจรจะมีด้วยกันหลายชั้น แต่ละชั้นจะเชื่อมต่อกันเป็นระบบซึ่งเป็นการออกแบบจากโรงงาน และยิ่งจำนวนชั้นมากคุณภาพของ Memory ก็สูงขึ้น ในขณะที่มีชั้นมากก็จะมีช่องทางในการเชื่อมต่อกันมากชึ้น แผงวงจรไฟฟ้าจะมีเส้นทางในการเดินทางมากขึ้น

DRAM (Dynamic Random Access Memory)
เป็น Memory ที่สามารถพบเห็นได้ในปัจจุบัน ซึ่งเป็น Dynamic RAM เพราะมันจะเก็บข้อมูลได้ในขณะที่มีไฟฟ้าเลี้ยงเท่านั้น โดยทั้วไปแล้วตัว Chip จะมีสีดำ ซึ่งเป็นวัสดุที่เป็นฉนวนเพื่อป้องกันลายวงจรที่อยู่ข้างใน

Contact Fingers
หรือเรียกว่า Connector เป็นส่วนที่ไว้สำหรับต่อกับ System board เพื่อให้เกิดการส่งผ่านข้อมูลระหว่างกัน Internal Trace Layer
จากรูป แว่นขยาย จะเห็นลายวงจรเชื่อมต่อกันเป็นจำนวนมากซึ่งไม่มีเพียงแค่ชั้นเดียว แต่ละชั้นจะเชื่อมต่อกัน แต่จะเชื่อมต่อกันแบบใดนั้นขึ้นอยู่กับผู้ผลิต
Chip Packaging
รูปแบบของ Chip ที่อยู่บน PCB จะเห็นว่ามีความแตกต่างกัน ถ้าทำการมองดูใกล้ๆจะเห็นว่าขาที่เชื่อมต่อกับ PCB จะมีความต่างกันรวมถึงตัว Chip ด้วย เนื่องจาก การผลิตที่ต่างโรงงานกัน Technology ที่ใช้ในการผลิตก็ต่างกัน ทำให้รูปร่างภายนอกก็ต่างกันไปด้วย
DIP (Dual In-Line Package) จะมีลักษณะขาที่ต่อตรงกับ PCB โดยเจาะไปในเนื่อ PCB ในปัจจุบันแทบจะไม่มีให้เห็นแล้ว
SOJ (Small Outline J-Lead) ตัว J นั้นได้มาจาก ขาของ Chipซึ่งงอเป็นรูปตัว J ซึ่งจะเป็นการต่อกับผิวหน้าของ PCB
TSOP (Thin Small Outline Package) ตัวของ Chip มีขนาดบางกว่าแบบ SOJ ซึ่งเป็นแบบที่นิยมใช้ในเครื่อง Notebook
CSP (Chip Scale Package) มีรูปร่างที่ต่างออกไป ไม่เหมือน Package ของ Chip ตัวอื่นๆ ที่กล่าวมา โดยตัวของ Chip ประหนึ่วว่าไม่มีขาต่อกับ PCB แต่จะมีปุ่มเล็กๆ ที่ใช้แทนขาที่เรียกว่า BGP (Ball Grid Array) เมื่อมองทางด้านบน Chip จะไม่เห็นว่ามีขาออกมาจากตัว Chip เลย แต่ถ้าพลิกดูอีกด้านหนึ่งของ Chip จะเห็นมีปุ่มอยู่เป็นจำนวนมากเรียงกัน
จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเป็นการจำแนก Chip ออกเป็นชนิด แต่ยังมีความแปลกของการออกแบบวงจรอีกคือ ถ้าต้องการให้ความจุของ Memory เพิ่มขึ้นแต่พื้นที่ PCB และ ขนาดความจุของ Chip จำกัด ก็สามารถนำ Chip มาวางซ้อนกันได้ ซึ่งจะเรียกว่า Stacked Chips